ความกว้างของการกระจายขนาดเม็ดเลือดแดง
ความกว้างของการกระจายขนาดเม็ดเลือดแดง

ความกว้างของการกระจายขนาดเม็ดเลือดแดง

ความกว้างของการกระจายขนาดเม็ดเลือดแดง (อังกฤษ: Red blood cell distribution width; RDW หรือ RCDW) เป็นการวัดความกว้างของการกระจายของขนาดเม็ดเลือดแดงโดยเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ ขนาดเม็ดเลือดแดงปกติจะอยู่ที่ 6-8 μm ความผิดปกติบางอย่างอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของขนาดเม็ดเลือดแดงได้ค่า RDW ที่สูง บ่งบอกว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงของขนาดเม็ดเลือดแดงอย่างมาก ซึ่งค่าปกติของ RDW ในมนุษย์จะอยู่ที่ 11-15% ในภาวะการเกิดโรคโลหิตจางนั้น ผลการตรวจ RDW มักจะถูกนำมาแปลผลร่วมกับปริมาตรของเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย (MCV) เพื่อประเมินถึงสาเหตุของการเกิดโลหิตจาง การขาดวิตามินบี 12 นำไปสู่การเกิดโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดขนาดใหญ่ (Macrocytic anemia) แต่ค่า RDW จะมีค่าปกติ แต่โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กจะพบว่าขนาดเม็ดเลือดจะมีความแตกต่างกัน ดังนั้น ค่า RDW จึงสูงกว่าปกติ ส่วนโลหิตจางที่เกิดจากการขาดวิตามินบี 12 ร่วมกับการขาดธาตุเหล็กนั้น เราจะพบว่าเม็ดเลือดแดงขนาดเล็กและขนาดใหญ่ผสมกัน ดังนั้น ค่า RDW จึงมีค่าที่สูงขึ้น การเพิ่มขึ้นของ RDW ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเม็ดเลือดแดงมี ขนาดไม่เท่ากันนั้น เรียกว่า ภาวะเม็ดเลือดแดงหลากขนาด (anisocytosis)[1]

ใกล้เคียง

ความกว้างของการกระจายขนาดเม็ดเลือดแดง ความกลัว ความกดอากาศ ความกล้าหาญ ความกังขาของนักบุญโธมัส (การาวัจโจ) ความกว้างเต็มที่ครึ่งค่าสูงสุด ความกตัญญู ความกระหาย ความกดอากาศต่ำ ความกว้าง