ก่อนการลงนาม ของ ความตกลงปางหลวง

การประชุมปางหลวงครั้งที่ 1

เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรยึดรัฐชาน (สหรัฐไทยเดิม) คืนจากไทยแล้ว ได้มีการประชุมเพื่อตัดสินชะตากรรมของชาติตนเองเรียกว่าการประชุมปางหลวงจัดขึ้นที่เมืองปางหลวงในรัฐชานเมื่อวันที่ 20–28 มีนาคม พ.ศ. 2489 การประชุมครั้งนี้ฝ่ายอังกฤษส่งนายสตีเวนสัน[ใคร?] เข้าร่วม ตัวแทนฝ่ายพม่าได้แก่ อู้นุ อู บาเกียน มาน บาขิ่น อูซอว์ การประชุมครั้งนี้พม่าเรียกร้องให้รัฐชานรวมกับพม่าเพื่อเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ[ต้องการอ้างอิง]

การประชุมปางหลวงครั้งที่ 2

หลังจากการประชุมปางหลวงครั้งแรก พม่าได้ทำความตกลงอองซาน–แอตลีกับอังกฤษเพื่อรวมอาณานิคมของอังกฤษทั้งหมดเข้ากับสหภาพพม่าฝ่ายรัฐชานจึงจัดการประชุมปางหลวงระหว่าง 3–12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 เพื่อปฏิเสธการเข้ารวมตัวกับพม่า ตัวแทนฝ่ายกะชีนเข้าร่วมประชุมกับไทใหญ่เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ และตัวแทนจากรัฐชีนเข้าร่วมเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ และตกลงจัดตั้งสภาสูงสุดแห่งประชาชนชาวเขาเพื่อต่อรองกับฝ่ายพม่า

ตัวแทนฝ่ายพม่านำโดยอองซานพร้อมกับตัวแทนฝ่ายรัฐบาลอังกฤษเข้าร่วมประชุมเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ เพื่อเจรจากับตัวแทนสภาสูงสุดแห่งประชาชนชาวเขาจนเป็นที่มาของการลงนามในสนธิสัญญาปางหลวงเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ในที่สุด[ต้องการอ้างอิง]

คณะกรรมการที่ลงนามในความตกลงปางหลวง

คณะกรรมการที่เข้าร่วมประชุมและลงนามในความตกลงปางหลวง ฝ่ายต่าง ๆ ได้แก่[1]

  • ฝ่ายไทใหญ่ ประกอบด้วย
    • ขุนปานจิ่ว
    • เจ้าคำตึก
    • เจ้าห่มฟ้า
    • เจ้าหนุ่ม
    • เจ้าจ่ามทุน
    • เจ้าทุนเอ
    • ลุงผิ่ว
    • ขุนพง
    • อูติ่นเอ
    • ลุงจาปุ๊
    • อูทุนมิ้น
    • ลุงขุนซอ
    • เจ้าเหยียบฟ้า
    • ลุงขุนที

  • ฝ่ายพม่าได้แก่
    • อองซาน
  • ฝ่ายกะชีน ได้แก่
    • สะมา ดู่หว่า สิ่นหว่าหน่อ
    • เจ้าหรีบ
    • ดิ่น ระต่าว
    • เจ่าหล่า
    • เจ่าหล่วน
    • ละบั่งกร่อง
  • ฝ่ายชีน ได้แก่
    • อูเหล่อมุง ผาลัม
    • อูต่อง จ่าคับ ตีติ่ม
    • อูแก้งมัง ฮักก่า

ใกล้เคียง

ความตาย ความตลกขบขัน ความตกลงมิวนิก ความต้านทานและการนำไฟฟ้า ความตกลงปางหลวง ความตกลงการสงบศึกเกาหลี ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า ความตกลงอังกฤษ-รัสเซีย ความตกลงเชงเกน