ความต้านทานของวัตถุ ของ ความต้านทานและการนำไฟฟ้า

ความต้านทานไฟฟ้ากระแสตรง

เมื่อไฟฟ้ากระแสตรงไหลผ่านวัตถุหรือสสารที่มีโครงสร้างเป็นเนื้อเดียวกันอย่างสม่ำเสมอทั้งชิ้น (เอกพันธ์ หรือ homogeneous) [3] กระแสไฟฟ้าจะกระจายทั่วหน้าตัดของวัตถุหรือสสารเหล่านั้น เราสามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมิติทางกายภาพและความต้านทานไฟฟ้าของวัตถุได้เป็น

R = l ⋅ ρ A {\displaystyle R={l\cdot \rho \over A}\,}

โดย

l คือ ความยาวของตัวนำ มีหน่วยเป็นเมตร(m)A คือ พื้นที่หน้าตัดของตัวนำ มีหน่วยเป็นตารางเมตร(m2)ρ (Greek: rho) คือ สภาพต้านทานไฟฟ้าของสสาร มีหน่วยเป็นโอห์ม-เมตร(Ω.m)

ความต้านทานไฟฟ้ากระแสสลับ

มื่อไฟฟ้ากระแสสลับไหลผ่านวัตถุหรือสสารลักษณะสมบัติของกระแสที่ไหลผ่านวัตถุหรือสสารเหล่านั้นย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละชนิดของวัตถุหรือสสารเหล่านั้น กระแสที่ไหลผ่านจึงไม่เป็นเพียงกระแสนำ (อังกฤษ: Conduction Current) แต่เพียงอย่างเดียวดังเช่นวงจรไฟฟ้ากระแสตรง มันยังประกอบไปด้วยกระแสพา (อังกฤษ: Impressed Current) และกระแสแทนที่ (อังกฤษ: Displacement Current) [4] ความต้านทานไฟฟ้ากระแสสลับยังคงเป็นปริมาณที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันและกระแสที่ไหลผ่านวัตถุหรือสสารไดๆ แต่ปริมาณดังกล่าวมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่เพิ่มขึ้นจึงเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ที่แตกต่างกับความต้านทานไฟฟ้ากระแสตรงด้วยตัวอักษรโรมันคือ Z ค่าดังกล่าวปกติเป็นปริมาณเชิงซ้อนที่ส่วนประกอบที่เป็นจินตภาพไม่เท่ากับศูนย์

ใกล้เคียง

ความตาย ความตลกขบขัน ความตกลงมิวนิก ความต้านทานและการนำไฟฟ้า ความตกลงปางหลวง ความตกลงการสงบศึกเกาหลี ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า ความตกลงอังกฤษ-รัสเซีย ความตกลงเชงเกน