ที่มา ของ ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความไม่ยุติธรรม

แกล็ดสโตน ฉายโดย รูเพิร์ต วิลเลียม พอตเทอร์, 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1884

ที่มาของภาษิตข้างนี้ ว่ากันไว้หลายกระแส ในหนังสือ Respectfully Quoted: A Dictionary of Quotations ("ขอยกมาอ้างอย่างนบน้อม: พจนานุกรมวาทะเด็ด") ว่า ภาษิตนี้เป็นของ วิลเลียม เอวาร์ต แกล็ดสโตน (William Ewart Gladstone) รัฐบุรุษอังกฤษ แต่ในหนังสือนี้ไม่ระบุแหล่งอ้างอิงไว้ด้วย[2] อีกทางว่าเป็นวาทะของ วิลเลียม เพ็น (William Penn) นักปรัชญาชาวอังกฤษ แต่ก็ไม่ใช่ในถ้อยคำสำนวนอย่างปัจจุบันนี้

แต่จะว่าภาษิตนี้มีที่มาจาก มหากฎบัตร (Magna Carta) ก็ได้ เพราะข้อ 40 ของมหากฎบัตร ว่า "อันว่าสิทธิก็ดี หรือความยุติธรรมก็ดีนั้น เราจักไม่ขายให้แก่ผู้ใด เราจักไม่เพิกเฉยหรือทำให้ล่าช้าต่อผู้ใด" (To no one will we sell, to no one will we refuse or delay, right or justice)

วอร์เรน อี. เบอร์เกอร์ (Warren E. Burger) ประธานศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกา เคยกล่าวว่า "ศาลทั้งหลายจำเป็นต้องได้รับความเชื่อมั่น เพื่อจะได้ธำรงโครงสร้างแห่งเสรีภาพอันเป็นระเบียบเรียบร้อยของเสรีชน และความเชื่อมั่นประการนี้...อาจย่อยยับไปด้วยโทษสามประการ คือ การที่ผู้คนเริ่มเชื่อว่า ความไร้ประสิทธิภาพและความล่าช้าจะบั่นทอนคุณค่าของคำพิพากษา แม้เป็นคำพิพากษาอันเที่ยงธรรมก็ตาม ประการหนึ่ง การที่ผู้คนผู้ถูกแสวงหาประโยชน์ในธุรกรรมเล็ก ๆ น้อยตามประสาชีวิตประจำวันเริ่มพากันเชื่อว่า ศาลจะไม่สามารถพิทักษ์สิทธิตามกฎหมายของพวกเขามิให้ถูกทำลายไปด้วยการฉ้อฉลและการเอื้อมไม่ถึง ประการหนึ่ง การที่ผู้คนตั้งต้นเชื่อว่า กฎหมายในความหมายอย่างกว้าง จะไม่บรรลุหน้าที่เบื้องต้นของมันในอันที่จะคุ้มครองพวกเขาและครอบครัวของพวกเขา ในบ้านของพวกเขา ในที่ทำงานของพวกเขา ตลอดจนบนถนนหนทางสาธารณะ อีกประการหนึ่ง"[3]

ใกล้เคียง

ความยืดหยุ่นทางจิตใจ ความยุติธรรม ความยาวคลื่น ความยาว ความยาวคลื่นคอมป์ตัน ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความไม่ยุติธรรม ความยากจน ความยาวโฟกัส ความยาวพันธะ