ความรุนแรงทางการเมืองของปาเลสไตน์

ความรุนแรงทางการเมืองของปาเลไตน์ หมายถึง การก่อเหตุรุนแรงหรือการก่อการร้ายซึ่งมีลัทธิชาตินิยมปาเลสไตน์เป็นเหตุจูงใจ[1] วัตถุประสงค์ทางการเมืองได้แก่การกำหนดการปกครองด้วยตนเองและเอกราชเหนือปาเลสไตน์[2][3] "การปลดปล่อยปาเลสไตน์" และการสถาปนารัฐปาเลสไตน์ ไม่ว่าทั้งในประเทศอิสราเอลและดินแดนปาเลสไตน์ หรือเฉพาะในดินแดนปาเลสไตน์[4][5][6] บางครั้งความรุนแรงดังกล่าวมุ่งเป้าหมายจำกัดกว่า เช่น การปลดปล่อยนักโทษชาวปาเลสไตน์ในประเทศอิสราเอล อีกเป้าหมายสำคัญหนึ่งคือการเรียกร้องสิทธิกลับมาตุภูมิของชาวปาเลสไตน์[7]กลุ่มปาเลสไตน์ซึ่งเกี่ยวข้องในความรุนแรงซึ่งมีการเมืองเป็นเหตุจูงใจ ได้แก่ องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) ฟะตะห์ แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PFLP) กองบัญชาการใหญ่แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PFLP-GC) แนวร่วมประชาธิปไตยเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ องค์การอะบู นิดาล, ญิฮาดอิสลามปาเลสไตน์ และฮะมาส[8] PLO ประกาศเลิกก่อการร้ายอย่างเป็นทางการในปี 1988 และฟะตะห์แถลงว่าจะไม่ข้องแวะกับการก่อการร้ายอีก แม้องค์การฯ ยังคงจูงใจให้เกิดการก่อการร้ายโดยการให้รางวัลเป็นค่าจ้างปริมาณมากแก่ครอบครัวชาวปาเลสไตน์ที่ถูกฆ่าหรือลักพาตัวขณะก่อเหตุก่อการร้ายโดยกองทุนมรณสักขีองค์การปาเลสไตน์ ซึ่งคิดเป็นรายจ่ายร้อยละ 7 ของงบประมาณแห่งชาติขององค์การฯ[9] PFLP-GC ไม่ปฏิบัติการต่อในระดับนานาชาติ องค์การอะบู นิดาลถูกยุบไปหลังเขาเสียชีวิตเหลือเพียงชื่อเท่านั้น[10][11][12]ยุทธวิธีที่ใช้ ได้แก่ การจับตัวประกัน การจี้เครื่องบิน การปาก้อนหิน การใช้มีดแทง การยิงและการวางระเบิด[13] รัฐบาลสหรัฐ แคนาดาและสหภาพยุโรปถือหลายกลุ่มข้างต้นว่าเป็นองค์การก่อการร้าย[14][15][16]ความรุนแรงทางการเมืองของปาเลสไตน์มุ่งเป้าชาวอิสราเอล ชาวปาเลสไตน์ ชาวเลบานอน ชาวจอร์แดน[17] ชาวอียิปต์[18] ชาวอเมริกันและพลเมืองของประเทศอื่น[19] เกิดการโจมตีทั้งในและนอกประเทศอิสราเอลและยังมุ่งเป้าต่อเป้าหมายทั้งทางทหารและพลเรือน สถิติของอิสราเอลระบุว่ามีชาวอิสราเอลถูกฆ่า 3,500 คน[19][20] และได้รับบาดเจ็บ 25,000 คนอันเนื่องจากความรุนแรงของปาเลสไตน์นับแต่การสถาปนารัฐอิสราเอลในปี 1948 จำนวนดังกล่าวรวมทหารและพลเรือน รวมทั้งผู้เสียชีวิตในเหตุยิงปะทะ[21][22] สถิติของอิสราเอลที่แสดงรายการการโจมตีก่อการร้ายข้าศึกนับรวมกรณีที่เป็นการปาก้อนหินด้วย การวางระเบิดฆ่าตัวตายคิดเป็น 0.5% ของการโจมตีของชาวปาเลสไตน์ต่ออิสราเอลในอินติฟาดาอัลอักซอในช่วงสองปีแรก แม้จำนวนดังกล่าวคิดเป็นครึ่งหนึ่งของชาวอิสราเอลที่ถูกฆ่าในช่วงเวลานั้น[23]ความเศร้า แผลใจหรือการล้างแค้นอิสราเอลส่วนบุคคลยังคงเป็นส่วนสำคัญในการจูงใจก่อเหตุโจมตีต่อชาวอิสราเอล[24][25][26]

ใกล้เคียง

ความรัก ความรุนแรงทางเพศระหว่างการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ความรุนแรงต่อสตรีในประเทศไทย ความรู้สึกต่อต้านไทย ความรุนแรงต่อสตรี ความรู้สึกว่าตนเขื่อง ความร้อน ความร้อนแฝงของการหลอมเหลว ความรู้สึก

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความรุนแรงทางการเมืองของปาเลสไตน์ http://www.publicsafety.gc.ca/cnt/ntnl-scrt/cntr-t... http://fr.jpost.com/servlet/Satellite?cid=12482778... http://www.nybooks.com/articles/archives/2003/jan/... http://www.nybooks.com/articles/archives/2013/sep/... http://avalon.law.yale.edu/20th_century/plocov.asp http://www.sis.gov.eg/en/Story.aspx?sid=21609 http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/site/en/oj/200... http://www.mfa.gov.il/MFA/MFAArchive/2000_2009/200... http://www.mfa.gov.il/MFA/Terrorism-+Obstacle+to+P... http://www.mfa.gov.il/MFA/Terrorism-+Obstacle+to+P...