รูปแบบ ของ ความสมมูลมวล–พลังงาน

ในบทความ Does the inertia of a body depend upon its energy-content? (ความเฉื่อยแห่งวัตถุขึ้นกับปริมาณพลังงานของวัตถุนั้นหรือไม่ ?) ไอนสไตน์ใช้ V เป็นตัวแทนความเร็วของแสงในสุญญากาศ และ L เป็นพลังงานที่สูญเสียไปจากวัตถุนั้นในรูปของการแผ่รังสี ดังนั้นในบทความดังกล่าวจึงไม่มี E = mc2 แต่มีประโยคในภาษาเยอรมันที่แปลว่า ถ้าวัตถุปลดปล่อยพลังงาน L ในรูปการแผ่รังสี มวลของมันจะหายไป L/V2[2] และมีข้อความประกอบว่านี่เป็นแค่การประมาณค่าโดยตัดเทอมอันดับสี่และอันดับที่สูงกว่าออกไปจากอนุกรม[3] ใน ค.ศ. 1907 สมการนี้ถูกเขียนในรูป M0 = E0/c2 โดย Max Planck[4] และต่อมาก็ได้มีการตีความหมายในเชิงควอนตัม[5] โดย Johannes Stark ซึ่งเขียนสมการในรูป e0=m0 c2 ใน ค.ศ. 1924 Louis de Broglie เขียนถึงสมการนี้ด้วยข้อความ"énergie=masse c2" ใน Research on the Theory of the Quanta แทนที่จะเขียนเป็นสมการ E = mc2 หลังสงครามโลกครั้งที่สองไอนสไตน์กลับมาเขียนงานด้านนี้อีกครั้งและเขียน E = mc2 ในชื่อบทความ [6] เพื่ออธิบายให้คนทั่วไปเข้าใจ[7]

ใกล้เคียง

ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย ความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร–สหรัฐ ความสามารถของบุคคล ความสัมพันธ์ไทย–พม่า ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น–ไทย ความสัมพันธ์จีน–ไทย ความสัมพันธ์ไทย–สหรัฐ ความสัมพันธ์ไทย–รัสเซีย ความสัมพันธ์เนโท–สวีเดน