ภูมิหลังการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ของ ความสัมพันธ์เกาหลีเหนือ–ไทย

การทูตระหว่างไทยและเกาหลีเหนือเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2515 จากการแลกเปลี่ยนการติดต่อในด้านการค้าและกีฬาอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2517 ทางเกาหลีเหนือได้แสดงความสนใจที่จะขอเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทย โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น

ในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 ประเทศไทยและเกาหลีเหนือได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน และมีการแลกเปลี่ยนเอกอัครราชทูตระหว่างกันในเวลาต่อมา โดยเอกอัครราชทูตเกาหลีเหนือประจำสหภาพพม่าในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ประจำประเทศไทย และเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงเปียงยาง

ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2534 เกาหลีเหนือได้ยกระดับสำนักงานผู้แทนการค้าของเกาหลีเหนือในกรุงเทพมหานคร (ที่ตั้งขึ้นเมื่อ 25 ธ.ค. 2522) เป็นสถานเอกอัครทูต แต่ทางการไทยยังไม่ได้เปิดสถานทูต ณ กรุงเปียงยาง โดยขณะนี้สถานเอกอัครทูตไทย ณ กรุงปักกิ่ง เป็นผู้ดูแล

การแลกเปลี่ยนการเยือน

นับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันแล้ว ทั้ง 2 ประเทศได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือน ระหว่างทั้งสองฝ่ายอย่างสม่ำเสมอ ดังนี้

การเยือนที่สำคัญจากฝ่ายเกาหลีเหนือมาประเทศไทย ได้แก่

  • กุมภาพันธ์ 2525 นายลี จอง อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  • ตุลาคม 2531 นายคิม ยง นาม รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  • 13 – 17 ธันวาคม 2537 นายคิม ยง นาม รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  • ปลาย มกราคม 2534 นาย ยน ฮยุง มุก นายกรัฐมนตรีเกาหลีเหนือ
  • ต้น พฤศจิกายน 2536 นาย ชัน ชอล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ศึกษา ศิลปและวัฒนธรรม ระหว่าง 5 – 9 ก.พ. 2538 นาย ลี ซง แด ประธานคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจระหว่างประเทศมาเยือนประเทศไทย
  • 24 ก.ค. 2538 นาย ชเว ยู จิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเยือนประเทศไทย เมื่อปลาย ส.ค. 2541 นาย ปาร์ค ซง ชอล รองประธานาธิบดีมาแวะผ่านประเทศประเทศไทย ได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี และรองประธานสภา ระหว่าง 25 - 29 ก.ค. 2543 นาย แพก นัม ซอน รมว.กต.ได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ และเข้าร่วมการประชุม ARF ครั้งที่ 7
  • 29 ต.ค. – 2 พ.ย. 2543 นาย โช แท บก ประธานสมัชชาประชาชนสูงสุดเกาหลีเหนือ (ซึ่งมีฐานะเทียบเท่าประธานสภาผู้แทนราษฎร) ได้เดินทางเยือนประเทศไทยในฐานะแขกของรัฐสภา
  • 28 เม.ย. – 2 พ.ค.2544 นาย ลี รยอง นัม รมช.การค้า มาเยือนประเทศไทยตามคำเชิญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  • 4 - 8 ธ.ค. 2544 นาย ลี กวัง กัน รัฐมนตรีว่าการการค้าต่างประเทศเยือนประเทศไทยตามคำเชิญของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และได้ลงนามข้อตกลงซื้อข้าว[ประเทศไทย 300,000 ตันด้วยเงินเชื่อ 2 ปี เรื่อง Account Trade และการขยายความสัมพันธ์ด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกัน (เมื่อ 29 ม.ค. 2545 ครม. มีมติเห็นชอบการขายข้าวดังกล่าว)
  • 28 ก.พ. – 3 มี.ค. 2545 นายคิม ยอง นาม นำคณะเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล โดยมี พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีให้การต้อนรับที่ท่าอากาศยานดอนเมือง และนายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำ และในวันที่ 1 มีนาคม 2545 มีการหารือสองฝ่ายเต็มคณะ และพิธีลงนามความตกลง 3 ฉบับ คือ ความตกลงเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ความตกลงทางวัฒนธรรม และความตกลงแลกเปลี่ยนข่าวสารและความร่วมมือระหว่างสำนักข่าวประเทศไทย และสำนักข่าวกลางเกาหลีเหนือ
  • 22 – 29 มิ.ย. 2545 นาย ลี กวัง กัน รัฐมนตรีว่าการการค้าต่างประเทศเยือนประเทศไทย เพื่อขอเจรจาการแสดงความจริงใจในการค้าข้าวระหว่างประเทศไทยกับเกาหลีเหนือ
  • 28 – 31 ม.ค. 2546 นาย ลี กอม บอม รัฐมนตรีว่าการไปรษณีย์และโทรคมนาคม เยือนประเทศไทยในฐานะแขกของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • 16 – 19 ก.ย. 2546 นาย ลี จู กวัน อธิบดีกรมสารนิเทศ กต.เกาหลีเหนือ เยือนประเทศไทยตามโครงการแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่กรมสารนิเทศ กต.ของสองประเทศ
  • 26 มิ.ย. – 1 ก.ค. 2547 นาย ลิม คยง มัน รัฐมนตรีว่าการการค้าต่างประเทศเกาหลีเหนือเดินทางเยือนประเทศไทยในฐานะแขกของกระทรวงพาณิชย์
  • 3 - 5 ส.ค. 2547 นายคิม ยง อิล รัฐมนตรีว่าการกต. เกาหลีเหนือ เยือนประเทศไทยในฐานะแขก กต.
  • 24 – 28 ก.ค. 2548 นาย แพก นัม ซอน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีเหนือเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

การเยือนที่สำคัญจากฝ่ายประเทศไทย ได้แก่

ใกล้เคียง

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของประเทศไทย ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน ความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร–สหรัฐ ความสามารถของบุคคล ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น–ไทย ความสัมพันธ์ไทย–พม่า ความสัมพันธ์จีน–ไทย ความสุขของกะทิ ความสัมพันธ์ไทย–สหรัฐ ความสัมพันธ์ไทย–รัสเซีย