หลักการในการออกแบบเว็บไซต์ ของ ความสามารถในการเข้าถึงเว็บ

World Wide Web Consortium (W3C) ได้ออกหลักการในการออกแบบเว็บไซต์เมื่อปี 1999 โดยใช้ชื่อว่า Web Content Accessibility Guidelines (WCAG) 1.0 โดยมีหลักการโดยสรุปไว้ดังนี้

  • ให้สร้าง "ตัวทดแทน" สำหรับคอนเทนท์ทางด้านกายภาพเสมอ หมายถึงการใส่ข้อความใด ๆ ที่มีความหมายเดียวกันกับรูปภาพ เพื่อให้ผู้ใช้ที่มีความพิการทางด้านการมองเห็น สามารถรับรู้ถึงข้อมูลดังกล่าวได้
  • อย่าพึ่งเพียงแค่สี เครื่องมือในการอ่านข้อมูลบนจอ ไม่มีความสามารถในการแสดงสีออกมาให้แก่ผู้มีความพิการทางสายตา หรือในกรณีของผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางส่วน การใช้งานสีที่มีความใกล้กันกับพื้นหลังจนเกินไป จะทำให้ไม่สามารถแสดงผลดังกล่าวออกทางจอภาพได้
  • ใช้ Stylesheet และจัดรูปแบบให้ถูกต้อง การจัดรูปแบบอย่างผิด ๆ เช่นการใช้งานตารางเพื่อการกำหนดพื้นที่บนหน้า ทำให้ผู้ใช้เครื่องมือใด ๆ มีความยากลำบากในการเข้าถึงเนื้อหาของข้อความ
  • บ่งบอกถึงภาษาที่ใช้ เครื่องมือต่าง ๆ ไม่สามารถตรวจสอบภาษาที่ถูกต้องหนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์ได้ด้วยตนเอง ดังนั้นการบ่งบอกถึงภาษาจึงมีความสำคัญ ในกรณีนี้ เป็นหน้าที่ของผู้พัฒนาเว็บไซต์ที่จะพัฒนาให้ถูกต้อง
  • ใช้ตารางให้ถูกวิธี การใช้ตารางแบบผิด ๆ (แม้แต่การนำไปใช้ในการจัดรูปแบบ) จะสร้างความลำบากให้แก่ผู้ใช้ที่ใช้ซอฟต์แวร์ในการอ่านหน้าจอ ที่มีความสามารถในการค้นหาตามช่องต่าง ๆ ของตาราง
  • ให้มั่นใจว่ามีแต่แทนสำหรับเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ การใช้เทคโนโลยีใหม่อย่าง AJAX จะทำให้เบราว์เซอร์เก่าไม่สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้อย่างที่ควรจะเป็น
  • ให้ผู้ใช้สามารถควบคุมเวลาของวัตถุใด ๆ การทำตัววิ่ง หรือหน้าที่มีการอัปเดตตลอดเวลา โดยไม่มีการหยุด จะเป็นการทำลายความสามารถในการเข้าถึงของผู้ที่ไม่มีความสามารถในการอ่านข้อความบางอย่างในเวลาอันรวดเร็วได้ ทั้งนี้รวมถึงโปรแกรมอ่านหน้าจอที่ต้องใช้เวลาในการประมวลผลและค้นหา
  • ผู้ใช้ต้องมีความสามารถในการควบคุมวัตถุใด ๆ ที่มีหน้าตาโต้ตอบเป็นของตัวเอง
  • อย่ายึดติดกับอุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่ง
  • ใช้การแก้ไขปัญหาชั่วคราว
  • สร้างเว็บไซต์ตามคำแนะนำของ W3C
  • บอกถึงขอบเขตของบริบทและเป้าหมายของข้อมูล
  • บอกส่วนของการเข้าถึงให้เด่นชัด
  • ให้เอกสารนั้นชัดเจนและง่าย

ในขณะที่หลักการฉบับแรกถูกใช้งานอยู่ หลักการฉบับที่สอง (WCAG 2.0) ก็กำลังถูกร่างอยู่ในปัจจุบัน โดยกำหนดหลักการไว้ 4 หลักการ

  1. หลักการที่ 1 สามารถรับรู้ได้ (Perceivable)
  2. หลักการที่ 2 สามารถใช้งานได้ (Operable)
  3. หลักการที่ 3 สามารถเข้าใจได้ (Understandable)
  4. หลักการที่ 4 รองรับได้หลากหลาย (Robust)

มีเกณฑ์ความสำเร็จ 3 ระดับดังนี้

  1. ระดับ A คือ เป็นสิ่งที่ต้องทำเพื่อให้เป็นเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้
  2. ระดับ AA คือ เป็นสิ่งที่ควรจะทำ เพื่อให้เป็นเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้
  3. ระดับ AAA คือ เป็นสิ่งที่อาจจะทำเพื่ิอเอื้อให้การเข้าถึงเป็นไปได้อย่างดียิ่งขึ้น

โดยล่าสุด กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากไอซีทีกำหนดหลักเกณฑ์  วิธีการ และเงื่อนไข ในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร และบริการสื่อสาธารณะ สำหรับคนพิการ พ.ศ. 2554 ตามมาตรา 20 (6) แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการฯ เช่นกัน ซึ่งได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2554 และจะมีผลใช้บังคับหลังครบกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศฯ

ใกล้เคียง

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของประเทศไทย ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน ความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร–สหรัฐ ความสามารถของบุคคล ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น–ไทย ความสัมพันธ์ไทย–พม่า ความสัมพันธ์จีน–ไทย ความสุขของกะทิ ความสัมพันธ์ไทย–สหรัฐ ความสัมพันธ์ไทย–รัสเซีย