ข้อวิจารณ์ ของ ความสุขมวลรวมประชาชาติ

นักวิจารณ์ในประเทศแย้งว่าการเน้นการทดลองกับ GNH ของภูฏานเบี่ยงเบนความสนใจของโลกจากการปราบปรามของรัฐบาลซึ่งชนกลุ่มน้อยใหญ่สุดของประเทศ ชาวโลตชัมปา (Lhotshampa) ฮินดู ซึ่งเดิมประกอบเป็นประชากรหนึ่งในหกของภูฏาน

จากแง่มุมเศรษฐกิจ นักวิจารณ์แถลงว่า เนื่องจาก GNH ขึ้นอยู่กับกลุ่มการตัดสินอัตวิสัยเกี่ยวกับความกินอยู่ดี รัฐบาลอาจสามารถนิยาม GNH ในทางที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของตนได้ ศาสตราจารย์เศรษฐศาสตร์ เดียร์เดร แม็กคลอสกี (Deirdre McCloskey) วิจารณ์การวัดเช่นนี้ว่าไม่เป็นวิทยาศาสตร์ โดยว่า "การบันทึกร้อยละของผู้ที่กล่าวว่าพวกเขามีความสุขจะบอกคุณ... [แค่]ว่าวิธีที่บุคคลใช้คำ" โดยให้แนวเทียบว่าสังคมไม่สามารถ "ยึดคุณสมบัติกายภาพโดยถามบุคคลว่าวันนี้ 'ร้อน พอดีหรือเย็น'" แม็กคลอสกียังวิจารณ์ลัทธิต่อต้านบริโภคนิยมของขบวนการเพื่อวางนโยบายรัฐบาลบนความสุข โดยประเมินว่า "วัฒนธรรมสูงแท้จริงแล้วรุ่งเรืองในสมัยที่มีการค้าคึกคักเสมอ ตั้งแต่กรีซศตวรรษที่ห้า ผ่านราชวงศ์ซ่งและอิตาลีสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา จนถึงยุคทองของดัตช์"[1]

นักวิจารณ์อื่นกล่วาว่า การเปรียบเทียบความเป็นอยู่ดีระรหว่างประเทศจะยากในแบบจำลองนี้ ผู้สนับสนุนว่า แต่ละประเทศสามารถนิยามการวัด GNH ได้ตามเลือก และการเปรียบเทียบระหว่างประเทศตามเวลาจะมีความสมเหตุสมผล GDP ให้มาตราระหว่างประเทศที่สะดวก การวิจัยแสดงว่าตัววัดความเป็นอยู่ดีของสังคมและปัจเจกบุคคลมีความแตกต่างกันในแต่ละวัฒนธรรมอย่างมาก บุคคลโดยทั่วไปรายงานความพึงพอใจชีวิตอัตวิสัยสูงกว่าหากพวกเขามีความสัมพันธ์ทางสังคมเข้มแข็งและบ่อย อาศัยอยู่ในระบบนิเวศสุขภาพดี ได้รับธรรมาภิบาล ฯลฯ กระนั้น ก็ยังเป็นจริงว่าการพึ่งพาการวัด GNH ของประเทศจะทำให้การเปรียบเทียบความเป็นอยู่ดีโดยสัมพัทธ์เป็นปัญหามากขึ้น เนื่องจากไม่มีและไม่คาดว่าจะมีมาตราร่วมที่ "สะดวก" เหมือน GDP[2][3] แต่เป้าหมายที่แถลงของภูฏานคือเพื่อเพิ่มสิ่งที่มองว่าเป็น GNH ให้สูงสุด โดยไม่เปรียบเทียบตัวเลขกับประเทศอื่น

GNH มีการใช้อย่างเป็นทางการเฉพาะในภูฏาน ที่ซึ่งคณะกรรมการความสุขมวลรวมประชาชาติได้รับหน้าที่ให้ทบทวนการตัดสินใจนโยบายและการจัดสรรทรัพยากร[4] ในปี 2556 ด้วยรัฐบาลใหม่ ประเทศภูฏานหันความสนใจจากการเผยแพร่ GNH ทั่วโลกไปเป็นความเป็นอยู่ดีของประชาชนในภูฏาน[5] การหันนี้ถูกบางคนตีความว่าเป็นการสละ GNH โดยหันไปสนับสนุนการริเริ่มพัฒนาที่เป็นมาตรฐานมากขึ้น[6]

ใกล้เคียง

ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย ความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร–สหรัฐ ความสามารถของบุคคล ความสัมพันธ์ไทย–พม่า ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น–ไทย ความสัมพันธ์จีน–ไทย ความสัมพันธ์ไทย–สหรัฐ ความสัมพันธ์ไทย–รัสเซีย ความสัมพันธ์เนโท–สวีเดน