ความส่งผ่าน
ความส่งผ่าน

ความส่งผ่าน

ความส่งผ่าน (transmittance) ในทางทัศนศาสตร์ และสเปกโทรสโกปี คืออัตราส่วนที่แสงซึ่งมีความยาวคลื่นเฉพาะค่าหนึ่งจะสามารถแผ่ทะลุผ่านไปได้หลังจากที่ได้ตกกระทบวัสดุบางอย่าง[1]ค่าความส่งผ่าน T {\displaystyle {\mathcal {T}}} อาจคำนวณได้ดังนี้ในที่นี้ I 0 {\displaystyle I_{0}} คือ ความเข้มของแสงที่ตกกระทบ และ I {\displaystyle I} คือความเข้มของแสงที่ผ่านไปได้ การส่งผ่านของตัวอย่างบางครั้งก็อาจแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ค่าความส่งผ่านและค่าความดูดกลืนเชิงแสง A {\displaystyle A} มีความสัมพันธ์ดังนี้อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วการส่งผ่านแสงจะรวมการสะท้อนบนพื้นผิวด้วย ค่าการดูดกลืนแสงมักจะพิจารณาเฉพาะการลดทอนของการส่งผ่านเนื่องจากการดูดกลืน โดยไม่ได้คิดผลของการสะท้อนจากกฎของลัมแบร์ท-เบร์ สามารถแสดงการคำนวณค่าความส่งผ่านได้ดังนี้ในที่นี้ α {\displaystyle \alpha } คือ ค่าสัมประสิทธิ์การดูดกลืน x {\displaystyle x} คือระยะทางที่แผ่มาเนื่องจากแสงจะเกิดการสะท้อนที่พื้นผิว (รอยต่อ) ของวัสดุเชิงแสง ดังนั้นความส่งผ่านของวัสดุจึงเรียกว่า ความส่งผ่านภายใน และความส่งผ่านทั้งหมดรวมถึงส่วนรอยต่อจึงเรียกว่า ความส่งผ่านภายนอก

ใกล้เคียง

ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย ความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร–สหรัฐ ความสามารถของบุคคล ความสัมพันธ์ไทย–พม่า ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น–ไทย ความสัมพันธ์จีน–ไทย ความสัมพันธ์ไทย–สหรัฐ ความสัมพันธ์ไทย–รัสเซีย ความสัมพันธ์เนโท–สวีเดน