ประวัติ ของ ความเป็นไทย

แนวคิดเรื่องความเป็นไทยถูกกำหนดอย่างเป็นแบบแผนในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเปลี่ยนมุมมองความเป็นไทย กำหนดแนวทางความเป็นไทยให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง[1] ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเริ่มมีการใช้แนวคิดชาตินิยมเพื่อการสร้างอุดมการณ์ร่วมให้เกิดในสังคมไทย สาระของแนวคิดคือ ปลูกฝังการรักชาติ ความจงรักภักดีต่อศาสนาและพระมหากษัตริย์ เป็นแนวคิดแบบชาตินิยมแบบอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมโบราณ มีเจตนาแสดงความเป็นไทยให้เห็นถึงศิลปวัฒนธรรมอันดีของไทยที่มีแต่อดีตและแสดงให้เห็นว่าชาติไทยไม่ใช่ชาติใหม่หรือชาติที่ป่าเถื่อน[2] ดังปรากฏในรูปแบบศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมตามแบบแผนประเพณีนิยม และทรงสร้างสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น ธงไตรรงค์

ในยุคของรัฐบาลคณะราษฎรมีการสืบทอดสาระสำคัญของสำนักความคิดไทย มุ่งหล่อหลอมความเป็นไทย ความรักชาติไทย และความพยายามพึ่งตนเอง ไม่ยอมให้อยู่ในความครอบงำของต่างชาติ[3] แต่ทางด้านศิลปกรรมได้ประยุกต์ นิยมลดทอนรายละเอียดและความซับซ้อนขององค์ประกอบตามอย่างไทย

ในช่วงหลัง พ.ศ. 2475 ถึงสงครามโลกครั้งที่สอง แนวคิดเรื่องความเป็นไทยเปลี่ยนศูนย์กลางจากสถาบันกษัตริย์ หันมาให้ความสำคัญกับพลเมือง โดยการสร้างวาทะกรรมความเป็นคนไทยที่เน้นอุปนิสัย คือ เป็นคนที่มีศิลปะไทย รักอิสรภาพ มีนิสัยใจคอที่รักความก้าวหน้า มุมานะอุตสาหะขยันหมั่นเพียร มีความสามัคคี แต่ไม่ขัดแย้งกับฐานคติเรื่องการจงรักภักดีต่อกษัตริย์และนับถือศาสนาพุทธ เมื่อเข้าสู่สงครามเย็น ความหมายของความเป็นไทย กลับมารวมศูนย์ทางความคิดที่การมีความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ เน้นย้ำว่าคนไทยต้องรู้ที่ต่ำที่สูง ไม่เบียดเบียนกัน รักการปกครองแบบไทย พูดภาษาไทย รู้วรรณคดีไทยและศิลปะไทย มีขนบธรรมเนียมและประเพณีแบบไทย[4]

พ.ศ. 2558 รัฐบาลนำแนวคิด "2015 Discover Thainess" (ปีท่องเที่ยววิถีไทย) มาเป็นจุดเด่นการตลาดของการท่องเที่ยวประเทศไทย[5]

ใกล้เคียง

ความเจ็บปวด ความเสียวสุดยอดทางเพศ ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน ความเท่าเทียมทางเพศ ความเหนือกว่าเทียม ความเร่ง ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก ความเครียด (จิตวิทยา) ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง