คำอธิบาย ของ ความแม่นยำเท็จ

ความแม่นยำเท็จอาจนิยามโดยทั่วไปได้ว่า เป็นการใช้ตัวเลขที่แม่นยำในกรณีที่จริงๆ ระบุอย่างแม่นยำเช่นนั้นไม่ได้ เช่น "ความยากลำบากในการเขียน 90% แรกอยู่ที่การเริ่มต้น"บางครั้งมีการใช้วิธีนี้อย่างผิดๆ เพื่อสร้างความมั่นใจในข้ออ้างที่ไม่สมเหตุผล เช่น "น้ำยาบ้วนปากของเราดีกว่ายี่ห้ออื่นๆ เป็นสองเท่า"[2]

ในวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ วิธีปฏิบัติทั่วไปก็คือถ้าไม่ได้ระบุค่า margin of error ก็ควรจะจำกัดจำนวนเลขนัยสำคัญที่ใช้แสดงข้อมูลตามความแม่นยำ (precision) อย่างสมเหตุผลเช่น ถ้าเครื่องมือวัดข้อมูลได้แม่นยำถึงเศษ 1/10 ของหน่วยวัด ผลลัพธ์ที่คำนวณโดยใช้ข้อมูลก็ควรระบุแค่ถึง 1/10 ไม่ว่าค่าคำนวณจะมีเลขหลังจุดทศนิยมกี่ตัว และไม่ว่าข้อมูลอื่นๆ ที่ใช้ในการคำนวณจะแม่นยำยิ่งกว่า 1/10แม้ศาสตร์สาขาอื่นๆ ก็มักจะสมมุติว่า ตัวเลขที่ไม่ระบุเป็นศูนย์ต้องมีความหมาย ดังนั้น การให้ข้อมูลที่แม่นยำเกินความสมเหตุผล อาจทำให้เข้าใจผิดเกินจริงเรื่องความแม่นยำ

ในนัยตรงกันข้าม การเก็บข้อมูลให้มีจำนวนเลขนัยสำคัญมากกว่านี้เพื่อการคำนวณในระหว่างๆ ก็เป็นเรื่องดี เพราะป้องกันไม่ให้สะสมความผิดพลาดเพราะการปัดเศษ

ความแม่นยำเท็จมักจะเกิดเมื่อรวมข้อมูลที่แม่นยำสูงเข้ากับข้อมูลที่แม่นยำต่ำ หรือเมื่อใช้เครื่องคิดเลข หรือเมื่อคำนวณเปลี่ยนหน่วย

ใกล้เคียง