ข้อควรระวัง ของ คอเลสติแลน

ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของคอเลสติแลนในกลุ่มผู้ป่วยต่อไปนี้ จึงควรระมัดระวังการใช้คอเลสติแลนในกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว:[8]

  • ผู้ที่มีภาวะกลืนอาหารลำบาก (Dysphagia) หรือมีปัญหาอื่นๆเกี่ยวกับการกลืน
  • ผู้ที่มีความผิดปกติอย่างรุนแรงของระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องผูกรุนแรง และ/หรือเรื้อรัง, ลำไส้อุดตัน (intestinal stenosis), ถุงผนังลำไส้อักเสบ (intestinal diverticulum), ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายอักเสบ (sigmoid colitis), แผลในทางเดินอาหาร (gastrointestinal ulcers), หรือเพิ่งได้รับการผ่าตัดทางเดินอาหาร
  • ผู้ป่วยท่อน้ำดีอุดกั้น (Biliary obstruction)
  • ผู้ที่มีภาวะการทำงานของตับบกพร่องอย่างรุนแรง
  • ผู้ป่วยโรคลมชัก
  • ผู้ที่มีประวัติเกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบ (peritonitis) จากการล้างไตทางหน้าท้อง
  • ผู้ที่มีระดับโปรตีนอัลบูมินในกระแสเลือดต่ำกว่า 30 กรัมต่อลิตร

อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้ใช้คอเลสติแลนในผู้ป่วยดังข้างต้น