คาชคาร์
คาชคาร์

คาชคาร์

คาชคาร์ (อาร์มีเนีย: խաչքար; khachkar หรือ khatchkar; ออกเสียง [χɑtʃʰˈkʰɑɾ]) หรือ ศิลากางเขนอาร์มีเนีย (อังกฤษ: Armenian cross-stone)[1] หมายถึงจารึกศิลาแกะสลักสำหรับใช้งานเป็นอนุสรณ์ โดยแกะเป็นภาพของไม้กางเขน และบ่อยครั้งมักมีลวดลายของรอสเซ็ต, ลายไขว้ และลายพรรณพฤกษา ประกอบ[2] คาชคาร์ เป็นลักษณะเด่นของศิลปะอาร์มีเนียคริสต์ในยุคกลาง[1][3] นับตั้งแต่ปี 2010 คาชคาร์ทั้งในแง่ของสัญลักษณ์และในแง่ของงานหัตถกรรม ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโก[4]คาชคาร์ในยุคแรก ๆ ตั้งขึ้นเพื่อช่วยให้ถึงวิญญาณของทั้งผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว และทั้งคนที่ยังมีชีวิตอยู่ ได้พ้นจากบาป (salvation) รวมถึงยังพบตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงชัยชนะทางทหาร, การก่อสร้างโบสถ์ หรือในรูปของการป้องกันภัยพิบัติธรรมชาติ[5] คาชคาร์แท้จริงค้นพบเก่าแก่ที่สุดในสมัยศตวรรษที่ 9[1]หมู่คาชคาร์จำนวนมากที่สุดในอาร์มีเนียที่ยังเหลือถึงปัจจุบันอยู่ที่สุสานใหญ่โนราดูซบนชายฝั่งของทะเลสาบเซวาน สุสานนี้เป็นสุสานเก่าแก่ที่มีคาชคาร์ราว 900 ชิ้น จากยุคสมัยและรูปแบบที่แตกต่างกัน ในอดีตนั้น จำนวนของหมู่คาชคาร์ที่มากที่สุดอยู่ในสุสานอาร์มีเนียในจุลฟา เขตปกครองตนเองนาคีเชวาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ซึ่งมีรายงานในปี 1648 ว่ามีคาชคาร์มากถึงราว 10,000 ชิ้น[6] หลังการทำลายจากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะจากการทำลายโดยจงใจของทหารอาเซอร์ไบจาน ในรายงานปี 1998 เหลือคาชคาร์ในจุลฟาแค่เพียง 2,700 ชิ้นเท่านั้น[7] ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายของรัฐบาลอาเซอร์ไบจานในการทำลายราบสุสานยุคกลางนี้ทั้งหมดให้สิ้นไปอย่างเป็นระบบในปี 1998 ถึง 2005[8]

ใกล้เคียง