แหล่งโบราณคดี ของ คาบสมุทรสทิงพระ

ปรากฏชุมชนเริ่มแรกในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12–14 บริเวณเขาคูหา ตําบลชุมพล อําเภอสทิงพระ เป็นชุมชนในลัทธิศาสนาพราหมณ์ที่มีการขุดแหล่งน้ําขนาดใหญ่สําหรับชุมชนใช้ประโยชน์ เปลือกหอยจำนวนมากที่พบในสระดังกล่าว มีช่วงอายุเวลา 6,250 ± 550 ปี ถึง 4,981± 540 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงเวลาของสมัยโฮโลซีนตอนกลาง[3]

ชุมชนโบราณและแหล่งโบราณคดีแถบคาบสมุทรสทิงพระ ได้แก่

  • ชุมชนโบราณระโนด หรือชุมชนอู่ตะเภา ปรากฎร่องรอยการตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยังมีการพบศิวลึงค์ในยุคแรก ๆ
  • ชุมชนโบราณพังยาง เมืองพังยางและบริเวณวัดขุข้าง พบเทวรูปพระวิษณุ ซึ่งมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 13
  • ชุมชนโบราณบริเวณ ตำบลบ่อตรุ ได้แก่วัดพระเจดีย์งามและวัดสีหยัง เป็นสิ่งก่อสร้างอายุราวพุทธศตวรรษที่ 15–16
  • แหล่งโบราณคดีวัดพะโคะ คูหา ชะแม ปรากฎถ้ำขุดในลัทธิไศวนิกาย ซึ่งอาจมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 ขึ้นไป
  • เมืองโบราณสทิงพระ พบหลักฐานทางโบราณคดีที่น่าจะมีอายุตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 11–12 เป็นต้นมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 19 หรือลงมาจนถึงสมัยอยุธยา[4]
  • ชุมชนโบราณปะโอ ปรากฎหลักฐานพุทธศาสนานิกายมหายาน วัชรยาน ราวพุทธศตวรรษที่ 15–18
  • มหาสถูปวัดเขาน้อย แบบช่างสมัยศรีวิชัย ราวพุทธศตวรรษที่ 13–18