คำสั่งคอมมานโด

คำสั่งคอมมานโด (เยอรมัน: Kommandobefehl) เป็นคำสั่งที่ได้ถ่ายทอดโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1942 ได้ประกาศว่า เมื่อหน่วยรบคอมมานโดของฝ่ายสัมพันธมิตรทั้งหมดได้เผชิญหน้ากับกองกำลังเยอรมันในยุโรปและแอฟริกาสมควรจะต้องถูกสังหารทันทีโดยไม่ต้องขึ้นศาล แม้พวกเขาจะอยู่ในชุดเครื่องแบบที่เหมาะสมหรือได้พยายามที่จะยอมจำนน หน่วยคอมมานโดหรือกลุ่มขนาดเล็กของหน่วยคอมมานหรือหน่วยที่มีลักษณะคล้ายคลึง, สายลับ, และผู้ก่อวินาศกรรมไม่ได้อยู่ในเครื่องแบบที่เหมาะสมซึ่งได้ตกอยู่ในเงื้อมมือของกองกำลังทหารเยอรมันโดยวิธีการอื่นๆนอกเหนือจากการสู้รบโดยตรง (ผ่านทางตำรวจในดินแดนที่ยึดครอง,สำหรับตัวอย่าง),จะถูกมอบทันทีให้กับหน่วยซีแชร์ไฮท์สดีนสท์ (SD,หน่วยบริการความปลอดภัย) คำสั่งถูกใช้งานอย่างลับ ๆ โดยหากไม่ทำตามก็จะถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่อซึ่งสามารถต้องโทษได้ตามกฎหมายทหารเยอรมัน[1] นี่คือส่วนที่สองของข้อเท็จจริง "คำสั่งคอมมานโด",[2] ผู้ที่เริ่มออกคำสั่งเป็นคนแรกโดยจอมพลแกร์ด ฟอน รุนด์ชเตดท์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1942 ได้ประกาศว่า พลทหารโดดร่มที่จับกุมมาได้ควรจะส่งมอบทันทีให้กับหน่วยเกสตาโพ[3]ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง,ที่การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก,คำสั่งคอมมานโดได้ถูกพบว่าเป็นการละเมิดกฏหมายสงครามโดยตรง,และเจ้าหน้าที่ทหารเยอรมันผู้ที่ได้ดำเนินการประหารชีวิตที่ผิดกฏหมายภายใต้คำสั่งคอมมานโดได้ถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาอาชญากรรมสงคราม

ใกล้เคียง

คำสั่งผู้กล้า ดั๊กวอน คำสั่งฉุกเฉินพิเศษโซลเบรน คำสั่งปฏิเสธการกู้ชีพ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 คำสั่งทั่วไปหมายเลข 1 คำสั่งว่าด้วยลิขสิทธิ์ในตลาดเดียวดิจิทัล คำสั่งปล่อย (มิเล) คำสั่งของฝ่ายบริหารที่ 13769 คำสั่งของฝ่ายบริหารที่ 9066 คำสั่งที่ 227