คิวมูลัส
คิวมูลัส

คิวมูลัส

คิวมูลัส (อังกฤษ: cumulus) เป็นเมฆที่มีลักษณะปุยคล้ายก้อนสำลี ยอดมนกลมคล้ายกะหล่ำดอก ฐานเมฆแบนเรียบ[1] ได้ชื่อมาจากภาษาละติน cumulus แปลว่า เป็นกองสุมกัน[2] คิวมูลัสเป็นหนึ่งในเมฆระดับต่ำร่วมกับคิวมูโลนิมบัส สเตรตัสและสเตรโตคิวมูลัส คิวมูลัสมีอักษรย่อคือ Cu และสัญลักษณ์ คิวมูลัสก่อตัวในชั้นโทรโพสเฟียร์ที่ระดับความสูง 1,200–6,500 ฟุต (400–2,000 เมตร) เมฆคิวมูลัสเกิดจากการพาความร้อนในอากาศ เมื่ออากาศร้อนที่พื้นโลกลอยตัวขึ้นไปสัมผัสกับอากาศเย็นด้านบน ทำให้ไอน้ำควบแน่นกลายเป็นเมฆ ในพื้นที่ริมทะเล คิวมูลัสจะก่อตัวบนฝั่งในตอนกลางวันเนื่องจากลมทะเลที่มีความชื้นพัดมาปะทะกับอากาศร้อนบนชายฝั่ง ในขณะที่ตอนกลางคืน คิวมูลัสจะก่อตัวในทะเลเนื่องจากอากาศในทะเลจะร้อนกว่าบนชายฝั่ง[3] การมีอยู่ของคิวมูลัสสามารถพยากรณ์ได้ว่าอากาศจะดี มีแดดจัด[4] อย่างไรก็ตาม คิวมูลัสสามารถกลายสภาพเป็นคิวมูโลนิมบัสหรือคิวมูลัส คอนเจสตัส ซึ่งเป็นเมฆฝนได้คิวมูลัสสามารถแบ่งได้ 4 ชนิด ได้แก่