คณะกรรมการ ของ คุรุสภา

คณะกรรมการคุรุสภา

พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 กำหนดให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการคุรุสภา ประกอบด้วย

คณะกรรมการคุรุสภา ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546
ลำดับที่ตำแหน่งจำนวนที่มา
1ประธานกรรมการ1 คนคณะรัฐมนตรี แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงด้านการศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือกฎหมาย
2กรรมการโดยตำแหน่ง8 คนปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

เลขาธิการสภาการศึกษา

เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษา

เลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา

เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น

3กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ7 คนคณะรัฐมนตรี แต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงด้านการบริหารการศึกษา การอาชีวศึกษา การศึกษาพิเศษ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกฎหมายด้านละหนึ่งคน ซึ่งในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นครู ผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้บริหารการศึกษา ไม่น้อยกว่าสามคน
4กรรมการผู้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ หรือการศึกษา4 คนได้รับการแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ หรือการศึกษา ซึ่งเลือกกันเองจากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐจำนวนสามคน และจากสถาบันอุดมศึกษาเอกชนจำนวนหนึ่งคน
5กรรมการจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาตามสัดส่วนจำนวนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาเลือกตั้งมาจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น และมาจากสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา สถาบันอาชีวศึกษา สถานศึกษาเอกชน และองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น ตามสัดส่วนจำนวนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
6กรรมการและเลขานุการ1 คนเลขาธิการคุรุสภา

หมายเหตุ : หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาประธานกรรมการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ หลักเณฑ์และวิธีการเลือกผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา และหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นไปตามข้อบังคับของคุรุสภา

ในปัจจุบัน คณะกรรมการคุรุสภา แต่งตั้งโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 17/2560[7] เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 7/2558

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่ง ให้ยกเลิกความในข้อ ๒ ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๗/๒๕๕๘ เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภา คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการบริหารองค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ลงวันที่ ๑๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“ให้คณะกรรมการคุรุสภา ตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา ประกอบด้วย

  1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ
  2. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการ
  3. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการ
  4. เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นกรรมการ
  5. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นกรรมการ
  6. เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นกรรมการ
  7. เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นกรรมการ
  8. เลขาธิการ ก.ค.ศ. เป็นกรรมการ
  9. เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นกรรมการ
  10. หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น เป็นกรรมการ
  11. เลขาธิการคุรุสภา เป็นกรรมการและเลขานุการ

คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ

พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 กำหนดให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย

ใกล้เคียง