ค่างแว่นถิ่นเหนือ
ค่างแว่นถิ่นเหนือ

ค่างแว่นถิ่นเหนือ

ค่างแว่นถิ่นเหนือ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Trachypithecus phayrei) เป็นค่างชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายกับค่างแว่นถิ่นใต้ (T. obscurus) ที่อยู่ในสกุลเดียวกันมีสีขนที่หลากหลาย ตั้งแต่สีน้ำตาลเข้มไปจนถึงสีเทาเข้ม ในขณะที่บางตัวอาจจะเข้มมากจนดูคล้ายสีสนิม ขนบริเวณหลังและด้านบนลำตัวจะเข้มกว่าสีขนที่อยู่ด้านล่าง สีขนด้านล่างของบางตัวอาจเป็นสรเทาอ่อนหรือขาวขุ่น บริเวณใบหน้าจะมีสีดำหรือสีเทาอมฟ้า มีลักษณะเด่น คือ บริเวณรอบดวงตาและริมฝีปากมีสีน้ำเงินปนขาว แต่สีขาวรอบวงตานั้นบางตัวอาจไม่เป็นรูปวงกลม ในขณะที่บางตัวอาจจะมีริมฝีปากเป็นสีขาวขุ่น มือและเท้าโดยทั่วไปจะเข้มกว่าบริเวณหลังมีความยาวลำตัวตั้งแต่หัวจรดโคนหาง 52-62 เซนติเมตร ความยาวหาง 58.5-88 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 6-9 กิโลกรัมพบกระจายพันธุ์ในประเทศบังกลาเทศ, ประเทศอินเดีย, ประเทศพม่า, ประเทศจีน, ประเทศไทย, ประเทศลาว และประเทศเวียดนาม[2] ในประเทศไทยพบมากทางภาคเหนือมีด้วยกัน 3 ชนิดย่อย คือ[1]ค่างแว่นถิ่นเหนือมีพฤติกรรมชอบอยู่รวมฝูงกันในป่าที่มีต้นไม้สูง ในบางครั้งอาจลงมาหากินป่าไผ่หรือป่าเสื่อมโทรมที่ผ่านการใช้ประโยชน์จากมนุษย์มาแล้ว มีนิสัยขี้อาย กลัวมนุษย์ บางกลุ่มอาจอาศัยในถ้ำที่เกิดจากชะง่อนผาหินปูน มักพบเห็นบนต้นไม้สูง แต่ในบางครั้งอาจลงมาหากินบนยอดไม้ที่มีความสูงประมาณ 15 เมตร หรืออาจลงมาพื้นดินเพื่อดื่มน้ำตามโป่งหรือตามลำธาร ในช่วงเวบานี้ จะมีสมาชิกอยู่บางตัวที่ทำหน้าที่เสมือนยาม จะร้องเตือนตัวอื่น ๆ ให้รับรู้ จากนั้นจะกระโดดหนีไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด เมื่อกระโดดจากต้นไม้ต้นหนึ่งไปยังต้นหนึ่ง จะกางแขนกางขาให้กว้าง เพื่อเป็นการผ่อนน้ำหนัก[3]