ปัจจัยกำหนดอัตราค่าจ้าง ของ ค่าจ้าง

อัตราค่าจ้างได้รับอิทธิพลจากแรงตลาด (อุปสงค์และอุปทาน) กฎหมายและประเพณี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับโครงสร้างและประเพณีของเศรษฐกิจประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก แรงตลาดบางทีมีบทบาทเด่นในสหรัฐ ส่วนประเพณี โครงสร้างและวัยวุฒิอาจมีบทบาทสูงกว่าในประเทศญี่ปุ่น[1]

แม้ในประเทศที่แรงตลาดเป็นตัวกำหนดอัตราค่าจ้างหลัก หลายการศึกษายังพบว่ามีข้อแตกต่างในสินจ้างสำหรับงานโดยขึ้นกับเพศและเชื้อชาติ ตัวอย่างเช่น ข้อมูลของกรมสถิติแรงงานสหรัฐ ในปี 2550 หญิงทุกเชื้อชาติมีค่าจ้างมัธยฐานคิดเป็นประมาณ 80% ของรายจ้างชาย ซึ่งน่าจะมีสาเหตุจากอุปสงค์และอุปทานสำหรับหญิงในตลาดเนื่องจากข้อผูกมัดของครอบครัว[2] ในทำนองเดียวกัน ชายผิวขาวมีค่าจ้างคิดเป็นประมาณ 84% และชายผิวดำมีค่าจ้าง 64% เทียบกับชายเอเชีย[3] ทั้งนี้ เป็นค่าเฉลี่ยรวมยังไม่ได้ปรับตามประเภท ปริมาณและคุณภาพของงานที่ทำ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ค่าจ้าง http://www.bibliomania.com/2/1/65/112/frameset.htm... http://www.databasece.com/en/labour-costs http://student.education2020.com/activities/vocab.... http://laborfair.com/resources.php http://libraryguides.missouri.edu/pricesandwages http://www.bls.gov/bls/blswage.htm http://www.rationalrevolution.net/articles/capital... http://www.econlib.org/library/Enc1/WagesandWorkin... http://www.salaryandwage.org/ http://www.saylor.org/site/wp-content/uploads/2012...