เกียรติยศที่ภาคภูมิใจ ของ จตุพร_รัตนวราหะ

การต่อกระบวนรำหน้าพาทย์องค์ พระพิราพ หน้าพระที่นั่ง

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมศิลปากร ทำการคัดเลือกศิลปินที่มีความสามารถฝ่ายพระ 5 คนคือ นาย ธีรยุทธ ยวงศรี [1] นายธงไชย โพธยารมย์[2] [3] นายทองสุข ทองหลิม, นายอุดม อังศุธร และนายสมบัติ แก้วสุจริต และศิลปินโขนฝ่ายยักษ์ 7 คนคือนายราฆพ โพธิเวส นายไชยยศ คุ้มมณี นายจตุพร รัตนวราหะ นาย จุมพล โชติทัตต์ นายสุดจิตต์ พันธ์สังข์ นาย สมศักดิ์ ทัดติ และ นาย ศิริพันธ์ อัฏฏะวัชระ รวมทั้งสิ้น 12 คน เข้ารับพระราชทานครอบประธานพิธีใหว้ครูโขนละคร และการต่อกระบวนรำเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ณ.ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ในวันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2527

รูปนี้เป็นรูปของนายจตุพรรัตนวราหะและได้ให้ ศ.ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ นำไปพิมพ์ลงไว้ในหนังสือนาฎยศิลป์รัชกาลที่ 9, สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2549.

การกราบทูลสอนโขนถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ

  • นายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร เคยเขียนเล่าไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อทรงพระเยาว์ทรงศึกษาความรู้รอบตัวในทางศิลปะ และโปรดให้ขอครูโขนผู้ชำนาญในบทพระยาวานรจากกรมศิลปากรไปกราบทูลสอนถวายแด่สมเด็จพระบรมฯ
  • ซึ่งทางกรมศิลปากรได้จัดให้ จ่าเร่งงานรัดรุด (เฉลิม รุทระวณิช) ครูผู้ชำนาญในบทพระยาวานร ไปกราบทูลสอนถวายให้ทรงฝึกหัดบทพระยาวานรตามพระราชประสงค์
  • ต่อมาได้มีเจ้านายบางพระองค์กราบบังคมทูลพระดำริถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ว่า น่าจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงฝึกบทพระยายักษ์ เพราะมีลีลาท่าทางเป็นสง่ามีทีท้าวทีพระยา ไม่หลุกหลิกแบบพระยาวานร
  • ทางกรมศิลปากร จึงจัดให้ นายจตุพร รัตนวราหะ ครูโขนยักษ์ไปกราบทูลสอนโขนถวาย โดยได้ฝึกการแสดงเป็นวิรุญจำบัง

ศิลปินแห่งชาติ ปีพุทธศักราช 2552

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ดำเนินการสรรหาศิลปินผู้สร้างสรรค์งานศิลปะให้เป็นมรดกอันล้ำค่าของแผ่นดิน มายกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2528 เป็นต้นมา และในปีพุทธศักราช 2552 นี้ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้พิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบให้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ นาย จตุพร รัตนวราหะ ศิลปินผู้มีความสามารถและอุทิศตนสร้างสรรค์ ผลงานศิลปะจนโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ชัดต่อสาธารณชน เป็นศิลปินแห่งชาติ ปี พุทธศักราช 2552 สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์-โขน)

ใกล้เคียง

จตุพร พรหมพันธุ์ จตุพร รัตนวราหะ จตุพร ประมลบาล จตุพร เจริญเชื้อ จตุรมิตรสามัคคี จตุรวิทย์ คชน่วม จตุรงค์ โกลิมาศ จตุพล ภูอภิรมย์ จตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 28 จตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 26

แหล่งที่มา

WikiPedia: จตุพร_รัตนวราหะ http://ongphra.multiply.com/photos/album/12/303-Ja... http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetail.asp?st... http://cdaat.bpi.ac.th/ http://cdalb.bpi.ac.th/present_pi.doc http://cdask.bpi.ac.th/ http://library.car.chula.ac.th:82/search*tha?/a%7B... http://library.car.chula.ac.th:82/search*tha?/aPet... http://library.car.chula.ac.th:82/search*tha?/t%7B... http://www.sau.ac.th/culture1/cul1.htm http://www.stjohn.ac.th/Department/boyst/Website/4...