จะปิ้ง
จะปิ้ง

จะปิ้ง

จะปิ้ง หรือ จับปิ้ง (ภาษาปากเรียก กระจับปิ้ง และตะปิ้ง) เครื่องประดับสำหรับเด็กอย่างหนึ่ง ใช้สวมใส่เพื่อปกปิดอวัยวะเพศของเด็กโดยใช้ผูกที่บั้นเอว พบทั่วไปในดินแดนอินเดียตอนใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และทุกภาคของประเทศไทยในอินเดียตอนใต้ มีเครื่องประดับของชาวทมิฬที่มีลักษณะและการใช้งานคล้ายจะปิ้ง ที่เรียกว่า Araimudi หรือ Araimuti ในภาษาทมิฬเป็นแผ่นโลหะเงินหรือทองคำขนาดเล็ก รูปหัวใจ ใช้อวัยวะเพศของเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย เป็นเครื่องรางที่คุ้มครองผู้สวมใส่จากวิญญาณร้ายและอันตรายต่าง ๆ จะปิ้งยังพบแพร่หลายในคาบสมุทรมลายูในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 7-13 พบทางตอนเหนือและชายฝั่งทะเลตะวันออกของมาเลเซีย ยังพบในหมู่เกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซีย โดยใช้สวมใส่ให้กับเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายเมื่อสามารถยืนหรือเดินได้ จะปิ้งในแถบนี้มีลักษณะคล้ายรูปหัวใจหรือใบโพ ลวดลายที่สลักตกแต่งลงลงบนจับปิ้งมี 2 รูปแบบ คือ ลายพันธุ์พฤกษาใช้สลักบนจับปิ้งสำหรับเด็กผู้หญิง ส่วนลายกากบาท (เครื่องหมาย +) ใช้สลักบนจับปิ้งสำหรับเด็กผู้ชาย ในราชสำนัก จะปิ้งสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ หรือเจ้านายในราชตระกูล ทำด้วยโลหะมีค่า เช่น ทองคำ และมีการสงวนการใช้เชือกสีขาว สีเหลือง สีแดง สีเขียว และสีม่วง[1]