การสู้รบระหว่างมองโกลกับอียิปต์ ของ จักรวรรดิมองโกล

ฮูลากู (หลานชายคนหนึ่งของเจงกิสข่าน) ปกครองอาณาจักรมองโกลอิลข่านตอนช่วงนี้อยู่ระหว่างสมัยของมังกุข่าน นอกจากนั้นแล้วเขายังเป็นคนที่คุ้มดีคุ้มร้ายด้วย โดกุซ คอดูน ภรรยาของเขาซึ่งเป็นคริสเตียนในเผ่าเคเรสต์จึงเป็นอีกผู้หนึ่งที่มีอิทธิพลในราชสำนัก ในปี ค.ศ. 1258 ฮูลากูได้ยกทัพมาทำลายนครบัฆดาดจนราพณาสูร และประชาชนชาวบัฆดาดทุกคนยกเว้นคริสเตียนถูกฆ่าตายหมด หลังจากนั้น ฮูลากูก็ถอนทัพกลับไปยังเมืองหลวงใกล้ทะเลสาบอูรมีอะฮฺในทางตะวันตกเฉียงเหนือของอิรอน โดยมอบความไว้วางใจในการปฏิบัตการทางทหารในขั้นต่อไปให้กับขุนทัพเจนศึกของเขาชื่อ คิตบูกา เป็นผู้รับผิดชอบ หลังจากนั้นดินแดนและเมืองต่าง ๆ ของมุสลิมถูกพวกมองโกลตีรุกครั้งแล้วครั้งเล่าและสถานการณ์ของประเทศมุสลิมในเอเชียตะวันตกก็มีทีท่าว่าจะเลวร้ายยิ่งขึ้น เพราะปรากฏว่าพวกมองโกลและพวกคริสเตียนได้รวมกำลังกันเข้ารุมตีมุสลิม ดังจะเห็นได้จากเมื่อตอนที่พวกมองโกลยกทัพมาทำลายเมืองบัฆดาดนั้น กษัตริย์คริสเตียนแห่งจอร์เจีย และอาร์มีเนียก็มีส่วนร่วมด้วย และในตอนที่กองทัพของพวกเหล่านี้ยกเข้ามาในซีเรียนั้น พวกมองโกลก็ได้เสนอให้พวกครูเสดเป็นพันธมิตรกับตนในการต่อสู้กับมุสลิม

อาศัยความยิ่งใหญ่เกรียงไกรของตนเอง พวกมองโกลมีปรัชญาการเมืองอย่างง่าย ๆ ว่า เพื่อนของตนจะต้องเป็นบริวารของตน และคนที่ไม่ยอมเป็นบริวารนั้นคือศัตรู กษัตริย์แห่งจอร์เจียและอาร์มีเนียได้ยอมรับอธิปไตยของพวกมองโกล แต่พวกขุนนางคริสเตียนไม่ยอมรับสภาพเช่นนั้นด้วย พวกขุนนางเหล่านี้ได้สังเกตว่าพวกมองโกลนั้นคิดแต่จะพิชิตซึ่งท่าเดียว และพวกนี้ก็เคยทำทารุณกับคนคริสเตียนในทางยุโรปตะวันออกเหมือนกับที่เคยทำกับคนมุสลิมมาแล้ว นอกจากนั้น พวกขุนนางคริสเตียนยังได้สังเกตเห็นว่า พวกเจ้าชายและเจ้าหญิงมองโกลซึ่งเป็นคริสเตียนนั้นเป็นพวกนิกายเนสโทเรียนและมีทีท่าว่าจะสนับสนุนพวกกรีกออร์โธดอกซ์ในการต่อต้านพวกโรมันคาทอลิก เมื่อรู้ดังนี้ พวกครูเสดจึงถอนตัวออกจากความเป็นพันธมิตรกับพวกมองโกล กองทหารของคิตบูกาและกองทหารคริสเตียนแห่งจอร์เจีย อาร์มีเนีย และอันติออค ได้รุกเข้าไปในซีเรียและฟิลิสตีน (ปาเลสไตน์) โดยมีพวกคริสเตียนในท้องถิ่นให้การสนับสนุน นี่เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 ที่มุสลิมในอาณาเขตนี้พบว่าตัวเองกลายเป็นคนกลุ่มน้อยที่กำลังถูกกดขี่ปราบปราม ดังนั้น พวกนี้จึงคิดที่จะต่อต้านแก้แค้นพวกมองโกลขึ้นมาบ้าง

ถึงแม้ความหวังจะน้อยก็ตาม แต่พวกมุสลิมเองก็ยังมีความคิดที่จะต่อต้านมองโกลอยู่ ในทางตะวันตกขณะนั้น ปรากฏว่าอียิปต์ซึ่งมีสภาพคล้ายกับรัฐทหารภายใต้การนำของ ซัยฟุคดีน กุตูซ ได้กลายเป็นแหล่งลี้ภัยของพวกมุสลิมที่หลบลี้หนีภัยมาจากที่ต่าง ๆ ทั้งนี้รวมทั้งบรรดาหัวหน้าเผ่าต่าง ๆ และบรรดาทหารทั้งหลายด้วย

อัยบัค ซึ่งเป็นพวกมัมลุ้กและเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์มัมลุก (หรือราชวงศ์ทาส) แห่งอียิปต์ขึ้น ได้ปกครองอียิปต์ตั้งแต่ ค.ศ. 1250-1257 (พ.ศ. 1793-1800) หลังจากที่เกิดสภาวะว่างผู้นำอยู่ระยะหนึ่ง ในปี ค.ศ. 1259 (พ.ศ. 180) กุตูซ ซึ่งเป็นมัมลู้กอีกคนหนึ่งก็ก้าวขึ้นมามีอำนาจ กุตูซเป็นคนที่กล้าหาญและเฉลียวฉลาด และได้รับการฝึกการอบรมมาจากโรงเรียนทหารของ อัสซอลิฮฺ อัยยูบ ในสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำไนล์ นอกจากตัวเขาแล้ว หัวหน้าที่ปรึกษาของเขาคือ บัยบัรฺ อัล-บันดุคดารี ซึ่งเป็นพวกมัมลู้กอีกคนหนึ่ง คน ๆ นี้ยิ่งมีความกล้าหาญและเหี้ยมเกรียมยิ่งกว่าเขาเสียอีก ทั้ง 2 คนได้รับบรรดาพวกที่หนีภัยมาไว้ทั้งหมด เพราะพวกเขากำลังต้องการกำลังทหาร จริงอยู่ ถึงแม้นักรบมัมลู้กจะเป็นนักรบที่มีประสิทธิภาพก็ตามแต่ก็มีจำนวนน้อย แต่ทหารที่หนีมาจากซีเรียและแม้แต่ที่หนีมาจากอาณาจักรควาริซมีก็ยอมอยู่ใต้ผู้นำมัมลู้ก ดังนั้น กุตูซจึงมีกำลังรบพร้อมที่จะรับมือกับพวกมองโกลถ้าหากว่าพวกนั้นยกมา พวกมองโกลเข้ามาเร็วเกินกว่าที่กุตูซคาดไว้ ขณะที่ทหารจากเมืองต่าง ๆ กำลังทยอยเข้ามาหลบภัยในอียิปต์นั้น พวกมองโกลได้ส่งทูตของตนเข้ามายื่นคำขาดให้ผู้ปกครองอียิปต์ยอมจำนนต่อพวกตน กุตูซ จึงได้เรียกประชุมสภาขุนศึกทันที นะซีรุดดีน คอยมารี ซึ่งเป็นทหารชาวซีเรียคนหนึ่งและรู้จักพวกมองโกลเป็นอย่างดีได้เสอให้รบกับพวกมองโกล เพราะเขารู้ดีว่าพวกมองโกลนั้นจะทำสัญญาก็เพื่อให้ข้าศึกตายใจเท่านั้น บัยบัรฺก็เห็นด้วยกับความคิดนี้อย่างเต็มที่ หลังจากที่ตกลงกันแล้ว กุตูซก็ได้รับมอบอำนาจเต็มในการที่จะจัดการกับพวกมองโกล หลังจากการประชุม กุตูซและบัยบัรฺได้ปรึกษาหารือเป็นการส่วนตัวตามลำพังเพียง 2 คน เพราะเขายังสงสัยว่าพวกซีเรียจะยืนอยู่ได้นานขนาดไหนเมื่อต้องประจัญหน้ากับพวกมองโกล และจะทำอย่างไรในอันที่จะป้องกันมิให้พวกทหารซีเรียหนีศึก บัยบัรฺจึงเสนอความคิดหนึ่งขึ้นมา และกุตูซก็ยอมรับ

วันรุ่งขึ้น ชาวเมืองไคโรก็ได้เห็นศพคนนำสารของพวกมองโกลถูกแขวนอยู่ 4 มุมเมือง เมื่อพวกซีเรียเห็นก็รู้ทันทีว่าขณะนี้กุตูซได้ท้าทายพวกมองโกลโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพันแล้ว และพวกซีเรียก็รู้ดีว่าพวกตนจะต้องรบกับพวกมองโกลอย่างไม่มีทางเลี่ยงแน่ เพราะถึงจะหนีไปไกลถึงฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก พวกมองโกลก็จะต้องตามไปฆ่าพวกตนเป็นการแก้แค้นแน่นอน ดังนั้พวกซีเรียจึงตัดสินใจที่จะเผชิญหน้ากับพวกมองโกลอย่างเต็มที่ แต่ก็มีพวกหัวหน้าบางคนเท่านั้นที่ไม่กล้าเผชิญหน้ากับพวกมองโกล และกุตูซก็ยอมให้พวกขี้ขลาดเหล่านี้หนีไปทางตะวันตกหรือทางใต้ ขณะที่ยังมีเวลา แต่ก็มีเงื่อนไขว่าจะต้องทิ้งทหารของตนไว้ที่อียิปต์กุตูซจัดการเตียมทัพอย่างรวดเร็ว โดยให้บัยบัรฺคุมกองทัพส่วนหนึ่งพร้อมกับทหารม้ามัมลู้กเป็นกองระวังหน้า ส่วนกุตูซคุมกองกำลังทหารมัมลู้กส่วนที่เหลือพร้อมกับทหารอื่น ๆ ที่หนีมาหลบภัยในอียิปต์มุ่งหน้าจากโอซุสสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เมื่อเขามาถึงพรมแดนอียิปต์พวกทหารและผู้คนที่หนีมาก็ปฏิเสธที่จะเดินหน้าต่อไป เพราะพวกนี้ต้องการที่จะให้ต่อสู้กับพวกมองโกลในอียิปต์ กุตูซรู้สึกโกรธมาก แม้เขาจะทั้งขู่ทั้งปลอบอย่างไรก็ตามก็ไม่บังเกิดผล ดังนั้น เขาจึงประกาศว่า เขาจะต่อสู้กับพวกศัตรูนอกศาสนาด้วยกองกำลังของเขาเอง และถ้าหากใครผู้ใดต้องการที่จะหนีไปไหนก็มีสิทธิที่จะไปได้ หลังจากนั้นเขาก็พาทหารมัมลู้กเดินทัพมุ่งหน้าออกไปทันที พวกซีเรียและพวกอื่น ๆ ส่วนหนึ่งที่เกิดความรู้สึกละอายใจ และส่วนหนึ่งเกิดความรู้สึกที่ประทับใจในความเป็นผู้นำของกุตูซจึงได้ตามเขาไป ในไม่ช้ากองทัพของกุตูซก็มาถึงหน้ากาซาโดยปกติแล้วพวกมองโกลนั้นจะเคลื่อนที่เร็วกว่าศัตรูของตนเสมอแต่ตอนนี้ กุตูซได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเขาเร็วกว่า ดังนั้น กองทัพย่อยของพวกมองโกลจึงได้ถอนตัวออกจากกาซาเพื่อถอยไปรวมพลกับกองทัพหลัก เนื่องจากพวกคริสเตียนอนุญาตให้เดินทัพผ่านเขตแดนของตนได้ ดังนั้นกุตูซจึงได้เดินทัพเลียบไปตามชายฝั่งขึ้นไปยังซีซาเรีย (Caesarea) แล้วเลี้ยวมาทางตะวันออกผ่านหุบเขาแห่งแม่น้ำ "ไคซอน" ข้ามทุ่งราบเมกิดโดและเข้าไปยังแม่น้ำญาลูต กองทหารม้าเคลื่อนที่เร็วของบัยบัรฺได้เข้าโจมตีค่ายของพวกมองโกลและสามารถยังความเสียหายให้แก่พวกมองโกลได้ส่วนหนึ่ง หลังจากนั้นจึงได้ถอนตัวกลับมายังกองทัพของตนซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของอัยน์ ญาลูต (ตาน้ำญาลูต) ซึ่งเป็นต้นน้ำของแม่น้ำญาลูต ส่วนคิตบูกา ซึ่งอยู่ที่บาลาบัคในซีเรียได้เคลื่อนทัพลงมาตามถนนระหว่างภูเขาเลบานอนและแอนตี้เลบานอน ผ่านเมืองซาเฟตและเรื่อยลงมาตามหุบเขาจอร์แดน เมื่อมาถึงแม่น้ำบัยซาน เขาได้เลี้ยวมาทางตะวันตกและมุ่งตรงไปยังหุบเขาญาลูตเพื่อไปเผชิญกับพวกอียิปต์โดยมรแม่น้ำบัยซานอยู่ทางด้านหลัง ในบริเวณหุบเขาแคบ ๆ ซึ่งมีภูเขากิลบัวปิดล้อมอยู่ทางด้านใต้และแม่น้ำญาลูตอยู่ทางด้านเหนือนี้แหละที่กองทัพของทั้ง 2 ฝ่ายได้มาเผชิญหน้ากัน ฝ่ายหนึ่งคือพวกมองโกลซึ่งพิชิตอาณาจักรต่าง ๆ มาแล้วเป็นจำนวนมากมาย และอีกฝ่ายหนึ่งคือพวกมัมลู้ก ในครั้งนั้นพวกมัมลู้กซึ่งเป็นแกนนำของกองทัพอียิปต์มีกำลังคนเพียง 12,000 คนเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับกองกำลังอันมากมายมหาศาลของพวกมองโกลแล้ว กองทัพของอียิปต์ก็ยังเหมือนกับลูกแกะที่อยู่กลางฝูงหมาป่านั่นเอง

ระบบทหารของพวกมองโกลนั้นเป็นระบบง่าย ๆ ซึ่งคล้าย ๆ กับสภาพการดำรงชีวิตในท้องทุ่งของพวกตนนั่นเอง ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาพวกมองโกลเป็นพวกที่เร่ร่อนทำมาหาดินอยู่ตามทุ่งหญ้าอันกว้างใหญ่ไพศาลในเอเชียกลาง กินไขมันและนมม้าเป็นอาหารประจำ ร่งกายจึงกำยำล่ำสัน ดังนั้น พวกนี้จึงไม่รู้จักกับคำว่าสิ่งกีดขวาง พวกมองโกลรู้จักการข้ามแม่น้ำด้วยการใช้ถุงหนังที่พองลมเป็นเครื่องพยุงตัวมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว และด้วยเหตุที่มีชีวิตความเป็นอยู่ง่าย ๆ ดังนั้นพวกมองโกลจึงไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องมีการจัดระเบียบสังคม เจงกิสข่านเองก็ใช้ยุทธศาสตร์ลักษณะประจำชาติง่าย ๆ นี้ในการทำศึก กล่าวคือ เมื่อเกิดศึกสงครามขึ้นมา พวกมองโกลก็จะกลายสภาพมาเป็นทหารภายใต้บังคับบัญชาของเขาทุกคน พวกมองโกลขี่มาเก่งมาตั้งแต่เด็ก ดังนั้นจึงมีความสามารถในการเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วและมักจะเข้าโจมตีข้าศึกโดยวิธีการบีบทางด้านข้างแล้วก็ปลีกตัวออก อาวุธที่พวกมองโกลใช้คือธนูซึ่งยาวกว่าปกติและสามารถยิงได้ระยะไกล พวกมองโกลจึงใช้ธนูให้เป็นประโยชน์โดยจะยิงข้าศึกจากระยะไกลจนข้าศึกแตกระส่ำระสายเสียก่อนแล้วจึงเข้าตี นอกจากนั้นแล้ว พวกทหารม้าขมังธนูมองโกลยังมีม้าสำรองที่บรรทุกอาวุธยุทโธปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการทำสงครามติดตาทเป็น "คลังแสงเคลื่อนที่" ด้วย ถ้าหรม้าตัวหนึ่งตัวใดถูกฆ่าหรือได้รับบาดเจ็บหรือเหนื่อยพวกมองโกลก็จะใช้ม้าสำรองแทน และขณะเดียวกันม้าสำรองเหล่านี้ก็จะกลายเป็น "เสบียงที่มีชีวิต" ของพวกมองโกลไปในตัวด้วหากต้องอยู่ในสภาพฉุกเฉิน หากจะกล่าวโดยสรุปแล้ว องค์ประกอบในความเป็นทหารของพวกมองโกลก็คือ ความสามารถขี่ม้าได้อย่างคล่องแคล่ว และยิงธนูได้อย่างแม่นยำในเวลาเดียวกัน ดังนั้น ผู้ที่จะสามารถต่อกรกับพวกมองโกลได้ก็ต้องมีคุณสมบัติดังกล่าวทัดเทียมกับพวกมองโกลและระหว่างทะเลญี่ปุ่นไปจนถึงพรมแดนออสเตรียก็ยังหาคนที่มีคุณสมบัติเช่นนั้นไม่พบเสียด้วยนอกจากกุตูซ และพวกมัมลู้ก

พวกมัมลู้กแห่งอาณาจักรอัยยูบนั้นมีเชื้อสายเติร์ก และเป็นพวกที่เร่ร่อนอยู่ในทุ่งหญ้าเอเชียกลาง ทุกคนขี่ม้าเก่งและรู้จักการใช้ธนูมาตั้งแต่ยังเด็ก นอกจากนั้นแล้วยังได้รับการฝึกอบรมมาให้มีระเบียบวินัยเคร่งครัด แต่เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว พวกมองโกลยังมีความได้เปรียบทางด้านอาวุธอยู่ เพราะธนูของพวกมองโกลมีขนาดยาวกว่าและสามรถยิงได้ไกลกว่าธนูของพวกมัมลู้ก กุตูซรู้ถึงความเสียเปรียบนี้เป็นอย่างดี และเขาก็ไม่บ้าบิ่นหรือมุทะลุอย่างที่คิตบูกาคิดไว้ ดังนั้น ในในหุบเขาญะลูตแคบ ๆ นี้เองชนสองเผ่าที่มาจากทุ่งหญ้าในเอเชียกลางได้มาเผชิญซึ่งกันและกัน (ที่จริงในเนื้อหามันมีแผนที่, ลักษณะกองทัพ, การจัดทัพอยู่ด้วย)

ทางตอนใต้ของหุบเขาญาลูตซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างธารน้ำและภูเขากิลบัวนั้นมีความกว้าง 2 ไมล์ หุบเขานี้จะยาวไปทางตะวันออกเฉียงใต้จนกระทั่งไปรวมกับหุบเขาจอร์แดนซึ่งอยู่ไกลออกไป 35 ไมล์ ดังนั้นพวกมองโกลจึงเผชิญหน้าพวกอียิปต์ในช่องเขาซึ่งกว้างพอที่พวกมัมลู้กจะตรึงกำลังไว้ได้ขณะเดียวกัน พวกมองโกลซึ่งมีกำลังมากกว่าต้องออกไปแออัดกันและไม่มีที่พอที่จะเคลื่อนไหวได้สะดวกความเฉลียวฉลาดในการเลือสมรภูมิของกุตูซนั้นทำให้ปีกทั้งสองของกองทัพของเขาปลอดภัยจากการถูกโจมตีโดยทหารม้าของพวกมองโกล และคิตบูกาเองก็มีความเชื่อมั่นเสียเหลือเกินว่า เขาคงจะบดขยี้มุสลิมได้โดยง่ายจนไม่จำเป็นที่จะต้องโอบปีกตี หรือใช้ทหารม้าหน่วยย่อยเข้าตีลวงตามตำรับของพวกมองโกล แต่ก็จะไปประมาณคิตบูกาทั้งหมดไม่ได้ ทั้งนี้เพราะการที่พวกมัมลู้กได้เลือกชัยภูมิก่อนนั้นเป็นการปิดโอกาสมิให้พวมองดกลสามารถเข้าตีทางด้านปีกตามความถนัดได้

กุตุซได้ให้ทหารม้าของเขาจัดแนวรบขึ้น โดยให้แนวรบด้านหน้าประกอบด้วย หน่วยทหารซีเรียและทหารควาริซมี โดยมีหน่วยทหารราบมัมลู้กคุ้มกันเป็นหน่วย ๆ อีกชั้นหนึ่ง ส่วนแนวที่สองประกอบด้วยทหารราบมัมลู้กแปรขบวนเป็นแถวหน้ากระดานอยู่ระหว่างหน่วยทหารมัมลู้กและทหารซีเรีย ส่วนแนวรบด้านหลังสุดเป็นทหารม้าภายใต้การบังคับบัญชาของบัยบัรฺ กุตูซเป็นผู้บังคับบัญชากองทหารมุสลิมทั้งหมดเหมือนกับที่คิตบูกาควบคุมพวกมองโกล พวกผู้นำซีเรียมีความเหก็นว่าเป็นเรื่องไม่ถูกที่เอากองทหารที่มิใช่อียิปต์ซึ่งอ่อนแอไปวางไว้ข้างหน้าเพื่อต้านการบุกของพวกมองโกล แต่เรื่องนี้ กุตูซและบัยบัรฺได้ปรึกษาหารือกันและวางแผนไว้อย่างรอบคอบแล้ว พวกมองโกลเป็นผู้เปิดฉากรบก่อนตามแบบฉบับ โดยใช้ทหารม้าขมังธนูควบม้าเข้ามายิงะนูใส่กองทหารมุสลิมระลอกแล้วระลอกเล่าแล้วก็ถอยกลับไปก่อนที่จะเข้ามาถึงระยะรัศมีธนูของทหารฝ่ายมุสลิม ด้วยความที่กลัวพวกมองโกลมาก่อน ประกอบกับไม่สามารถตีโต้และได้รับความเสียหายจากธนูของฝ่ายตรงข้ามทำให้ทหารแนวหน้าของมุสลิมเริ่มปั่นป่วน นายทหารที่ทำหน้าที่บังคับบัญชาอยู่ได้พยายามที่จะคุมกำลังไว้ แต่ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะทหารแตกกระจายและบางคนเริ่มวิ่งหนีออกจากสนามรบ

อย่างไรก็ตาม พวกทหารที่มิใช่ชาวอียิปต์ก็มิได้ทำให้ทหารราบมัมลู้กที่อยู่ทางด้านหลังต้องประสบความยุ่งยาก เพราะระหว่างแนวหน้ากับแนวที่สองนั้นยังมีช่องว่างพอที่จะให้ทหารในแนวหน้าหนีวิถีลูกธนูของพวกมองโกลได้ เมื่อเห็นทหารศัตรูแตกทัพและวิ่งหนี คิตบูกา ก็สั่งให้ทหารของตนตามตีทันที การโจมตีของพวกมองโกลเป็นไปอย่างหนักหน่วงและสามารถส้างความเสียหายให้แก่ทหารซีเรียอย่างหนัก คิตบูกาจึงคิว่าเขาชนะศึกแล้ว แต่เมื่อเขานำทัพตามติดเข้ามาเขาก็พบว่าตัวเองได้หลงเข้ามาติดกับเสียแล้ว

เมื่อพวกทหารซีเรียซึ่งเป็นแนวหน้าเกิดความปั่นป่วนและถอยหนีนั้น ปีกทั้งสองข้างของกองทหารมัมลู้กซึ่งมีภูเขากิลบัวและแม่น้ำญาลูตเป็นแนวป้องกันอยู่ยังคงตั้งมั่นอย่างไม่หวั่นไหว และแนวที่สองของอียิปต์ซึ่งประกอบด้วยพวกมัมลู้กภายใต้การบังคับบัญชาของ กุตูซก็สามารถยันการรุกของพวกมองโกลไว้ได้ ดังนั้นการรุกหน้าของพวกมองโกลจึงช้าลงขณะเดียวกันก็เริ่มตกอยู่ในวงล้อมของพวกซีเรียที่กำลังล่าถอยด้วย (อลหม่านน่าดู) หลังจากนั้นพวกมัมลู้กก็เริ่มจัดขบวนปิดล้อมทหารพวกมองโกลอีกชั้นหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ทำให้เนื้อที่การสู้รบของพวกมองโกลแคบลงจนเคลื่อนไหวไม่สะดวกและไม่สามารถใช้อาวุธของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เนื่องจากพวกมองโกลถือว่าพวกตนมีกำลังมากกว่าพวกมองโกลจึงไม่ยอมถอย พวกอียิปต์จึงสาดฝนธนูเข้าใส่พวกมองโกลอย่างไม่ยั้งมือ ด้วยกลยุทธ์นี้ กุตูซไม่เพียงแต่จะทำให้พวกมองโกลตกเข้ามาอยู่ในรัศมีการสังหารด้วยลูกธนูของพวกอียิปต์เท่านั้น แต่ยังสามารถทำให้กองทหารม้าเคลื่อนที่เร็วที่สุดในสมัยกลางต้องมีสภาพเหมือนกับคนที่กำลังจะเป็นอัมพาตไป หลังจากนั้นสถานการณ์ก็เริ่มเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ เมื่อพวกมุสลิมซีเรียเห็นว่าพวกตนกำลังหลุดรอดปลอดภัยจากการถูกตามสังหารแล้ว พวกนี้ก็เริ่มรวมพลกันอีกครั้งหนึ่งแล้วกลับเข้าสู่สมรภูมิช่วยหนุนพวกมัมลู้กเข้าตีฝ่ายมองโกลจนล่าถอยไป

อย่างไรก็ ตามนี่ยังไม่ใช่การสิ้นสุดศึก ตลอดการสงครามอันตึงเครียด บัยบัรฺกับกองทหารม้ามัมลู้กของเขาต่างจด ๆ จ้อง ๆ ด้วยความกระวนกระวาย เมื่อศึกบยกแรกสิ้นสุดลง บัยบัรและทหารของเขาจึงได้คลายความกระวนกระวายลง บัยบัรฺนั้นเป็นคนที่ดุดันเหี้ยมเกรียมตลอดชีวิตของเขานั้น เขามิเคยขอหรือให้ความกรุณากับใคร เขาต้อนพวกมองโกลให้ถอยร่นไปยังหนองบึงบัยซาน หลังจากนั้นก็สั่งให้ทหารตารมเด็ดชีวิตศัตรูให้มากที่สุด พวกมองโกลที่หนีภัยไปหลบอยู่ในพงอ้อถูกเผาตายนับเป็นพัน ๆ คน อีกส่วนหนึ่งที่หนีไปก็ถูกไล่ต้อนไปจนมุมที่แม่น้ำจอร์แดน และถูกฆ่าตายไปจำนวนมาก แต่ บัยบัรฺจะมิได้เป็นบัยบัรฺถ้าหากว่าเขาหยุดอยู่แค่นั้น จากแม่ฯํ้สจอร์แดนเขาได้พากองทหารของเขาออกติดตามรบรันพันตูกับข้าศึกอย่างดุเดือด ตลอกระยะทาง 300 ไมล์ที่เขาติดตามศึกนั้น เขาตามเข่นฆ่าพวกมองโกลทุกคนที่เขาพบเห็นอย่างไม่ปราณี มีแต่พวกที่ลอยข้ามแม่น้ำยูเฟรตีสไปได้เท่านั้นที่หลุดรอดจากการเอาชีวิตของเขา หลังจากนั้นไม่นาน บัยบัรฺ อัล-บันดุคดารี ก็ได้กลายเป็นสุลฏอนมัมลู้กที่มีชื่อเสียงที่สุดของอียิปต์

คิตบูกาถูกจับได้ในสนามรบ ก่อนที่เขาจะถูกสังหาร เขาได้กล่าวทายล่วงหน้าเอาไว้ว่า ทันทีที่ Hulaku รู้ข่าวเรื่องศึกที่อัยน์ ญาลูต นี้เข้าแผ่นดินมุสลิมระหว่างแม่น้ำยูเฟรติสและแม่น้ำไนล์จะต้องสั่นสะเทือนไปด้วยการเดินทัพอันมหึมาของ Hulaku และในกระเป๋าอานม้าของพวกมองโกลนั้นจะเต็มไปด้วยทรายจากแผ่นดินอียิปต์ แต่อย่างไรก็ตาม นายของคิตบูกาก็ไม่มีโอกาสได้มุ่งหน้ามาทางตะวันตก เพราะมองคา ข่าน ผู้ยิ่งใหญ่ได้เสียชีวิตลงและกุบไลข่าน น้องชายของ Hulaku กับอาริคโบกาได้ต่อสู้แก่งแย่งกันเพื่อที่จะก้าวขึ้นมาเป็นข่านผู้นำ Hulaku ต้องการที่จะอยู่ใกล้ ๆ คาราโครัม เผื่อที่จะกระโดดเข้าไปเล่นเกมส์ชิงความเป็นผู้นำกับเขาด้วยถ้าหากโอกาสเอื้ออำนวย นอกากนั้นแล้ว พวกหัวหน้าเผ่ามองดกลในทรานสโอเซียนาก็ได้กลายมาเป็นมุสลิมขณะที่พวกมองดกลที่เข้าไปตียุโรปในทางตอนใต้ของรัสเซียได้เกิดความเห็นใจมุสลิมและเริ่มรุกเข้าไปในเขตแดนของ Hulaku ดังนั้น Hulaku จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะยกทัพมาตีข้าศึกของเขาในอียิปต์ เพราะต้องคอยป้องกันพรมแดนทางด้านเหนืออยู่ อาณาจักรของ Hulaku คือ "อาณาจักรอิลข่าน"

สงครามอัยน์ ญาลูต เป็นสงครามที่สำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ชัยชนะของพวกมัมลู้กได้ช่วยปกป้องคุ้มครองอิสลามให้รอดพ้นจากการข่มขู่คุกคามที่อันตรายที่สุดที่มุสลิมเคยพบมาถ้าหากว่าพวกเขามองโกลสามารถตีอียิปต์ได้ ทางด้านตะวันออกของโมร็อกโคก็จะไม่มีรัฐมุสลิมหลงเหลืออีกเลยถ้าหากพวกมองโกลสามารถครอบครองฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านตะวันออกและด้านใต้ได้ พวกทมองโกลก็อาจจะตกอยู่ใต้อิทธิพลคริสเตียน แล้วถ้าหากพวกมองโกลดำเนินรอยตามเจ้าชายคริสเตียนอย่างวเช่นคิตบูกา ศาสนาคริสต์ก็อาจจะมารุ่งโรจน์อยู่ตรงใจกลางของแผ่นดินอิสลามได้ ดังนั้น การสงครามที่อัยน์ ญาลูต จึงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางเดินของกระแสประวัติศาสตร์อิสลามทั้งในแง่ของศาสนาและในแง่ของการทหารด้วย หลังจากนั้นพวกมัมลู้กได้เข้ายึดครองฟิลิสตีน (ปาเลสไตน์) ซีเรีย อิร็อก (อิรัก) ตะวันตก และอนาโตเลียทางตอนใต้ไว้ และพวกมองโกลหลังจากที่ได้นั่งอยู่บนรั้วตรงกลางระหว่างอิสลามกับคริสเตียนอยู่เป็นเวลานานแล้ว ก็ได้มาเข้าฝ่ายมุสลิมอยู่ที่นั่นในที่สุด

ใกล้เคียง

จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จักรวรรดิญี่ปุ่น จักรวรรดิบริติช จักรวรรดิออตโตมัน จักรวรรดิมองโกล จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จักรวรรดิโรมัน จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล: เฟสสอง จักรวรรดิรัสเซีย