อุตสาหกรรม ของ จักรวรรดิเยอรมัน

โรงงานของบริษัทเหล็กครุปป์ ในเมืองเอสเซิน ค.ศ. 1890 เมืองนี้เมืองเดียวมีโรงงานตั้งอยู่ถึง 60 อาคารด้วยเครื่องจักรกว่า 8,500 เครื่อง[4]

การพัฒนาอุตสาหกรรมในเยอรมันดำเนินไปอย่างก้าวกระโดด ผู้ผลิตสินค้าของเยอรมันสามารถแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น ทำให้การนำเข้าสินค้าจากอังกฤษลดน้อยลง ไม่เพียงเท่านี้ ผู้ผลิตของเยอรมันยังสามารถแย่งชิงตลาดต่างประเทศจากอังกฤษไปได้อีกไม่น้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกา อุตสาหกรรมโลหะและสิ่งทอของเยอรมันได้แซงหน้าอังกฤษในปี 1870 ในแง่การจัดการและประสิทธิภาพการผลิตซึ่งได้ทำให้อุตสาหกรรมสิ่งทอและโลหะของอังกฤษไม่มีที่ยืนในเยอรมันอีกต่อไป เยอรมันกลายเป็นชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในยุโรป และเป็นชาติที่ส่งออกมากเป็นอันดับสองรองจากสหราชอาณาจักร

ในตอนเริ่มแรก เยอรมันต้องพึ่งพาการนำเข้าเทคโนโลยีต่าง ๆ จากอังกฤษโดยเฉพาะรถไฟ เยอรมันใช้เวลาไม่นานในการเรียนรู้จนสามารถสร้างรถไฟและขยายโครงข่ายทางรถไฟได้ด้วยตนเอง โครงข่ายทางรถไฟได้เพิ่มจาก 21,000 กิโลเมตรในปี 1871 ไปเป็น 63,000 กิโลเมตรในปี 1913 กลายเป็นชาติที่มีโครงข่ายทางรถไฟยาวรองจากสหรัฐอเมริกา

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีระหว่างการปฏิวัติอุตสาหกรรมในเยอรมนีนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 4 ระลอก ได้แก่: การรถไฟ (1877–1886), สีย้อม (1887–1896), เคมีภัณฑ์ (1897–1902) และ วิศวกรรมไฟฟ้า (1903–1918)[5] และเนื่องจากเยอรมันได้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมทีหลังอังกฤษ โรงงานอุตสาหกรรมในเยอรมนีถูกออกแบบได้มีประสิทธิภาพมากกว่าโรงงานในอังกฤษ เยอรมันมีการลงทุนด้านการวิจัยอย่างหนักหน่วงมากกว่าอังกฤษ โดยเฉพาะการวิจัยด้านเคมี, มอเตอร์ และไฟฟ้า ส่งผลให้นักฟิสิกส์และนักเคมีชาวเยอรมันเป็นผู้ผูกขาดรางวัลโนเบลกว่าหนึ่งในสามของจำนวนรางวัลโนเบลที่มอบให้แก่บุคคลสัญชาติเยอรมัน การรวมกลุ่มของบริษัทในเยอรมัน ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้แต่ละบริษัทสามารถใช้ทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง

ก่อนปี 1900 อุตสาหกรรมสีย้อมของเยอรมันได้เข้าครอบงำตลาดสีย้อมของโลก[6] ผู้ผลิตหลักสามรายได้แก่ BASF, Bayer และ Hoechst ตลอดจนผู้ผลิตรายย่อยอีกห้ารายของเยอรมัน สามารถผลิตสีย้อมได้กว่าหลายร้อยสี ซึ่งในปี 1913 ผู้ผลิตทั้งแปดรายนี้ครองส่วนแบ่งตลาดกว่า 90% ในตลาดสีย้อมของโลก การผลิตกว่า 80% เป็นการส่งออกเพื่อป้อนตลาดโลก นอกจากนี้ ผู้ผลิตหลักสามรายยังได้ร่วมมือกับอุตสาหกรรมต้นน้ำเพื่อผลิตวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมอื่น ๆ อย่าง เวชภัณฑ์, ฟิล์มถ่ายภาพ, สารเคมีทางการเกษตร และไฟฟ้าเคมี

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อุตสาหกรรมในเยอรมนีได้เปลี่ยนไปสู่การผลิตเพื่อป้อนสงคราม ความต้องถ่านหินและแร่เหล็กได้เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลเพื่อใช้ในการผลิตปืนใหญ่และต่อเรือรบ ความต้องการด้านเคมีภัณฑ์สำหรับสังเคราะห์เป็นผลิตภัณฑ์ก็เพิ่มขึ้นมากเช่นกัน เนื่องจากอังกฤษและพันธมิตรของอังกฤษได้งดส่งออกสินค้าเหล่านี้แก่เยอรมัน

ใกล้เคียง

จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จักรวรรดิญี่ปุ่น จักรวรรดิบริติช จักรวรรดิออตโตมัน จักรวรรดิมองโกล จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จักรวรรดิโรมัน จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล: เฟสสอง จักรวรรดิรัสเซีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: จักรวรรดิเยอรมัน http://www.idsia.ch/~juergen/sci.html http://www.amazon.com/Contesting-German-Empire-187... http://www.amazon.com/History-Germany-1780-1918-Ni... http://www.amazon.com/Imperial-Germany-1914-1918-A... http://www.amazon.com/Wilhelminism-Its-Legacies-Mo... http://books.google.com/books?id=F23iAAAAMAAJ http://books.google.com/books?id=SwKkAAAAMAAJ http://books.google.com/books?id=Yn4gAAAAMAAJ http://books.google.com/books?id=neRCAAAAIAAJ http://books.google.com/books?id=wUEBAAAAYAAJ