วัฒนธรรม ของ จังหวัดลำปาง

ศิลปสถาปัตยกรรม

ศิลปสถาปัตยกรรม มักจะสะท้อนอุดมการณ์และปฏิบัติการทางเมือง ในที่นี้จึงแบ่งยุคต่าง ๆ เป็นดังนี้

ยุคก่อนล้านนา

พระพิมพ์ดินเผา ยุคหริภุญชัย (การขุดค้นทางโบราณคดีของกรมศิลปากร)

ยุคล้านนา

ศิลปะยุคทองที่ถือว่าเป็นแบบฉบับของศิลปสถาปัตยกรรมล้านนา ตัวอย่างได้แก่

  1. วัดพระธาตุลำปางหลวง อำเภอเกาะคา อันได้แก่ แผนผัง วิหารหลวง วิหารน้ำแต้ม วิหารพระพุทธ รวมไปถึงพระธาตุลำปางหลวง
  2. วัดไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน อำเภอเกาะคา ได้แก่ วิหาร
  3. กู่เจ้าย่าสุตตา (ซุ้มโขงวัดกากแก้ว)
ยุคฟื้นม่าน

ศิลปะสืบสานแบบจารีตเดิม

  1. หอคำ อำเภอเมืองลำปาง
  2. วิหารวัดคะตึกเชียงมั่น อำเภอเมืองลำปาง

ศิลปะแบบเชียงแสน ตัวอย่างได้แก่

  1. วัดสุชาดาราม อำเภอเมืองลำปาง
  2. วัดหัวข่วง อำเภอเมืองลำปาง
ยุคอิทธิพลสยามและตะวันตก

สัญลักษณ์ครุฑตัวแทนราชสำนักสยาม ตัวอย่างได้แก่ ศิลปะแบบพม่า-ไทใหญ่ วัดพม่า-ไทใหญ่ในลำปาง 9 แห่ง สัมพันธ์กับพ่อค้าคหบดีพม่า-ไทใหญ่ที่เข้ามาทำไม้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 ตัวอย่างได้แก่

  1. วิหารหลวง วัดพระแก้วดอนเต้า อำเภอเมืองลำปาง
  2. วัดศรีชุม อำเภอเมืองลำปาง
  3. วัดศรีรองเมือง อำเภอเมืองลำปาง
  4. วัดม่อนจำศีล อำเภอเมืองลำปาง
  5. วัดม่อนปู่ยักษ์ อำเภอเมืองลำปาง
  6. วัดป่าฝาง อำเภอเมืองลำปาง
  7. วัดจองคา อำเภอเมืองลำปาง
  8. วัดป่ารวก อำเภอเมืองลำปาง
  9. วัดจองคำ อำเภองาว
ยุคประชาธิปไตย

สัญลักษณ์พานรัฐธรรมนูญ ที่เป็นพานแว่นฟ้าซ้อนกันสองชั้นแล้วด้านบนเป็นสมุดไทยซึ่งหมายถึงรัฐธรรมนูญนั่นเอง สัญลักษณ์นี้ถูกเลือกให้เป็นตัวแทนของระบอบใหม่ ในจังหวัดลำปางได้ปรากฏสัญลักษณ์พานรัฐธรรมนูญในที่ต่าง ๆ เช่น หน้าแหนบวัดปงหอศาล อำเภอแม่ทะ ระบุว่าสร้างเสร็จวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2475 (ในปฏิทินแบบเก่าปีใหม่เริ่ม เมษายน ดังนั้น มีนาคมจึงเป็นปลายปีแล้ว เมื่อปรับตามปฏิทินร่วมสมัยก็จะกลายเป็น 15 มีนาคม พ.ศ. 2476) หรือวัดอื่น ๆ ในแม่ทะ เช่น ชิ้นส่วนที่คาดว่าจะเป็นหน้าแหนบของวัดสบทะ ดาวเพดานวิหารวัดนากว้าว แต่ลักษณะของพานนี้เป็นพานชั้นเดียว(พานแว่นฟ้าจะเป็นพานสองชั้นซ้อนกัน) ก็อาจตีความได้ทั้งสองอย่างคือสื่อถึงรัฐธรรมนูญ หรือเป็นพานที่รองรับพับสาธรรมะทั่ว ๆ ไป แผงคอสองวิหารพระเจ้าพันองค์ วัดปงสนุก อำเภอเมืองลำปาง ที่ระบุว่าอยู่ในปี พ.ศ. 2482 เช่นเดียวกันกับเครื่องบนหลังคาของวิหารหลวงวัดปงสนุก(เหนือ) หลังเก่าที่ถูกรื้อไปแล้ว แต่ยังเก็บชิ้นส่วนนี้ไว้ที่พิพิธภัณฑ์ สันนิษฐานว่าน่าจะถูกสร้างขึ้นมาในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ส่วนทางใต้ของลำปางก็พบมีการใช้สัญลักษณ์พานรัฐธรรมนูญ บริเวณหน้าแหนบวิหารหลวง วัดล้อมแรด อำเภอเถิน

พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ และแหล่งเรียนรู้

  1. หอปูมละกอน เทศบาลนครลำปาง ตั้งอยู่บริเวณข่วงนคร ห้าแยกหอนาฬิกา อำเภอเมืองลำปาง
  2. หอศิลป์ลำปาง มูลนิธินิยม ปัทมเสวี ถนนตลาดเก่า ตำบลสวนดอก อำเภอเมืองลำปาง
  3. หอประวัติศาสตร์นครลำปาง ตั้งอยู่ภายในจวนผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง (หลังเก่า)

ใกล้เคียง

จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดชลบุรี จังหวัดของประเทศไทย จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสุราษฎร์ธานี

แหล่งที่มา

WikiPedia: จังหวัดลำปาง http://bangkokair.com/time-table/PG-timetable.pdf http://www.flightstats.com/go/FlightStatus/flightS... http://maps.google.com/?ie=UTF8&ll=18.29,99.48&spn... http://www.lampangsporttime.com/ http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=18.29&l... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://id.loc.gov/authorities/names/n84199108 http://d-nb.info/gnd/4379338-1 http://www.globalguide.org?lat=18.29&long=99.48&zo... http://www.lampangsports.org/