ข้อมูลพื้นฐาน ของ จังหวัดแม่สอด

การจัดตั้งจังหวัดแม่สอด มีลักษณะสำคัญ คือ

  • จุดแข็ง
    • ทำให้ประชาชนสามารถเดินทางติดต่อกับหน่วยราชการได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น ก่อให้เกิดผลดีทางด้านความมั่นคงตามแนวชายแดน
    • ทำให้เกิดการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจการลงทุนตามแนวชายแดนมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ ขยายโอกาส และสร้างความเจริญให้กับประชาชนในพื้นที่
    • ทำให้การดูแลแก้ไขปัญหาของประชาชนโดยหน่วยงานภาครัฐเป็นไปอย่างทั่วถึง ด้วยความสะดวก และรวดเร็ว
  • จุดอ่อน
    • ทำให้จังหวัดเดิมมีขนาดเล็กลง ขาดการเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจที่ดี ตามลักษณะโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมดั้งเดิม
    • ทำให้การบริหารงานภาครัฐในด้านการบริการประชาชนเกิดความไม่คุ้มค่าเชิงภารกิจ เมื่อเทียบเท่ากับสัดส่วนจำนวนประชากรที่คงเหลือ
      • จังหวัดตาก ยังคงมีข้อมูลทั่วไปซึ่งไม่สอดคล้องตามหลักเกณฑ์การจัดตั้งจังหวัดใหม่ 4 ประเด็น คือ
        • จำนวนอำเภอ ในเขตการปกครองของจังหวัดตาก แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ และหากมีการยกฐานะ อำเภอแม่สอด อำเภอท่าสองยาง อำเภอแม่ระมาด อำเภอพบพระ และอำเภออุ้มผาง แยกไปตั้งจังหวัดใหม่ จะทำให้จังหวัดเดิมมีอำเภอ เหลือเพียง 4 อำเภอ คือ อำเภอเมืองตาก อำเภอบ้านตาก อำเภอสามเงา และอำเภอวังเจ้า
        • จำนวนประชากร จังหวัดตาก มีจำนวนประชากรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 2 กรกฎาคม 2547 จำนวน 516,627 คน ซึ่งเมื่อแยก 5 อำเภอชายแดนไปตั้งจังหวัดใหม่แล้ว จะทำให้จังหวัดเดิมเหลือจำนวนประชากรเพียง 209,077 คน และจังหวัดที่ตั้งใหม่มีจำนวนประชากรเพียง 307,550 คน
        • ปัจจัยเกี่ยวกับอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ กรณีการจัดตั้งจังหวัดขึ้นใหม่มีความจำเป็นต้องจัดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ของราชการต่างๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งไม่สอดคล้องกับนโยบายลดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ภาครัฐของรัฐบาล
        • ความคิดเห็นของประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ทางด้าน อำเภอแม่สอด อำเภอท่าสองยาง อำเภอแม่ระมาด อำเภอพบพระ และอำเภออุ้มผาง โดยส่วนใหญ่จะเห็นด้วย แต่ทางด้านอำเภอเมืองตาก อำเภอบ้านตาก อำเภอสามเงา และอำเภอวังเจ้า จะไม่เห็นด้วยกับการขอตั้งจังหวัดใหม่
    • นอกจากกรณีตามข้อ 2.1, 2.2 เมื่อพิจารณาปัจจัยทางด้านเนื้อที่ และสภาพภูมิศาสตร์ลักษณะพิเศษของจังหวัด ผลดีในการให้บริการประชาชน สถานทีราชการและความพร้อมในด้านอื่นๆ รายได้ รวมทั้งหลักเกณฑ์อื่นๆ แล้ว ทุกกรณีจะมีลักษณะเป็นไปโดยสอดคล้องตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนดไว้
    • จากการพิจารณาข้อมูลตามที่ปรากฏในภาพรวมแล้วเห็นว่า การขอยกฐานะ 5 อำเภอชายแดนเป็นจังหวัด ยังคงมีองค์ประกอบปัจจัยไม่สมบูรณ์ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์การจัดตั้งจังหวัดใหม่ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2524 ประกอบกับปัจจุบันได้มีการบริหารราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา (CEO) โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ดูแลแก้ไขปัญหาข้อจำกัดในด้านต่างๆ และอำนวยความสะดวกด้านบริการประชาชนในระดับพื้นที่อยู่แล้ว แต่ทั้งนี้ หากเป็นนโยบายของรัฐบาลในการที่จะแก้ไขปัญหาข้อจำกัดในด้านสภาพพื้นที่ของจังหวัด ซึ่งมีพื้นที่กว้างขวางและมีลักษณะยาวมาก ตลอดจนเพื่อการดูแลแก้ไขปัญหาตามแนวชายแดน อันจะเป็นการอำนวยประโยชน์สุข และก่อให้เกิดผลดีแก่ประชาชาชนมากยิ่งขึ้น ก็สามารถดำเนินการได้โดยการเสนอขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว

ใกล้เคียง

จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดชลบุรี จังหวัดของประเทศไทย จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสุราษฎร์ธานี