ประวัติศาสตร์ ของ จัตุรัสทราฟัลการ์

จัตุรัสประกอบด้วยพื้นที่ขนาดใหญ่ใจกลางมหานครลอนดอน ห้อมล้อมด้วยถนนทั้ง 3 ด้าน และมีบันไดกลางขนาดใหญ่ที่จะนำไปสู่หอศิลป์แห่งชาติในด้านที่ 4 ของจัตุรัส และยังมีถนนตัดผ่านซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงหมายเลข A4 ซึ่งถนนที่ห้อมล้อมทั้งหมดใช้ระบบการจราจรรถวิ่งทางเดี่ยว (One-way traffic system) นอกจากนี้ยังมีทางลอดไปยังสถานีแชริ่ง ครอส เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาการจราจรติดขัดและอันตรายจากการจราจรอันคับคั่งของผู้คนตามท้องถนน ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้สำนักงานโยธาของนครลอนดอนได้ลดขนาดช่องทางการจราจรและปิดถนนในฝั่งเหนือลง เสาปูนเนลสันตั้งอยู่ตรงการของจัตุรัสและรายล้อมไปด้วยน้ำพุอันสวยงานซึ่งถูกออกแบบในปี ค.ศ. 1939 โดย เซอร์ เอ็ดวิน ลุตเย็นส์ (ย้ายน้ำพุสองอันที่สร้างมาก่อนหน้านี้ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ ณ วาสคานา เซ็นเตอร์ ในสวนคอนเฟดเดอเรชั่น ปาร์ค, กรุงออตตาวา, ประเทศแคนาดา) และรูปแกะสลักสิงโตบรอนซ์ของ เซอร์ เอ็ดวิน แลนเซียร์ ส่วนโลหะได้มาจากการรีไซเคิลของปืนใหญ่ของฝรั่งเศส ซึ่งด้านบนสุดของเสาหินคือรูปแกะสลักของ พลเรือเอกโฮราชิโอ เนลสัน ผู้ที่บัญชาการนำในการรบที่สมรภูมิทราฟัลการ์ ซึ่งน้ำพุฝั่งตะวันตกสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่ ลอร์ด เจลลิซโค ส่วนฝั่งตะวันออกอุทิศให้แก่ ลอร์ด บีทตี้ สถานที่ที่รายล้อมจัตุรัสได้แก่ ด้านเหนือของจัตุรัสคือหอศิลป์แห่งชาติ ด้าตะวันออกคือโบสถ์ เซนต์ มาร์ติน-อิน-เดอะ-ฟีลดส์ และยังมีทางเชื่อมไปยังห้างสรรพสินค้าและแอดมิแรลทิ อาร์ชซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ ด้านใต้คือไวท์ ฮอลล์ ด้านตะวันออกคือถนนสแตรนด์กับบ้านแอฟริกาใต้ ด้านตะวันตกคือบ้านแคนาดา

ณ หัวมุมของจัตุรัสคือฐานของเสาหินทั้งสี่ สองฐานอยู่ทางด้านเหนือ อีกหนึ่งเป็นฐานของอนุสาวรีย์คนขี่ม้า ซึ่งมีขนาดกว้างกว่าอีกสองอันที่อยู่ด้านทิศใต้ โดยมีสามอันที่เป็นฐานให้แก่อนุสาวรีย์ของ: สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 (ด้านตะวันออกเฉียงเหนือสร้างในช่วงทศวรรษที่ 1840) เฮนรี แฮฟลอค (ด้านตะวันออกเฉียงใต้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1861 โดย วิลเลี่ยม เบ็นช์) และ เซอร์ ชาร์ลส์ เจมส์ เนปิแอร์ (ด้านตะวันตกเฉียงใต้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1955) ซึ่งนายกเทศมนตรีแห่งลอนดอน เคน ลิฟวิงสโตน ได้เคยแสดงความคิดเห็นที่ประสงค์จะให้รูปปั้นผู้พันทั้งสองสลับที่กับอนุสาวรีย์ซึ่งเขากล่าวไว้ว่า

ประชาชนชาวลอนดอนทั่วไปควรจะได้รู้ไว้— เคน ลิฟวิงสโตน

บนสนามหญ้าหน้าหอศิลป์แห่งชาติ มีอนุสาวรีย์สองรูปตั้งอยู่คืออนุสาวรีย์ของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของทางเข้าหอศิลป์ อีกรูปคืออนุสาวรีย์ของ จอร์จ วอชิงตัน ซึ่งเป็นของขวัญให้แก่อังกฤษมาจากรัฐเวอร์จิเนียซึ่งถูกทำขึ้นที่สหรัฐอเมริกา จัตุรัสกลายมาเป็นจุดรวมตัวทางสังคม ศิลปะ วัฒนธรรม การเมืองและเศรษฐกิจสำหรับทั้งนักท่องเที่ยวและชาวลอนดอนเองอย่างรวดเร็ว ดังบทความเขียนของ รอดนีย์ แมค ที่เขียนไว้ว่า

สถานที่ที่กลายมาเป็นทางเดินริมชายทะเลของผู้คนไปจนถึงจุดศูนย์รวมรูปปั้นวีรบุรุษของประเทศชาติ— รอดนีย์ แมค

ใกล้เคียง

จัตุรัสเทียนอันเหมิน จัตุรัสจามจุรี จัตุรัสโรมัน จัตุรัสเมอร์เดกา (จาการ์ตา) จัตุรัสคิม อิล-ซ็อง จัตุรัสชาร์ล เดอ โกล จัตุรัสทราฟัลการ์ จัตุรัสแดง จัตุรนต์ คชสีห์ จัตุรัสสุลต่านอาเหม็ด