คำสอนและผลงาน ของ จันทรกีรติ

จันทรกีรติเป็นเน้นตีความคำสอนของนิกายมาธยมกะ ด้วยวิธีการทางตรรกศาสตร์ที่เรียกว่า ปราสังคิกะ หรือการวิพากษ์ทางตรรกะแบบอนุมาน หรือสำนักวิพาษวิธี ในภาษาทิเบตเรียกว่า อูมะ เทลจูร์ (Wylie: dbu ma thal 'gyur) [2] งานเขียนของท่านปกป้องแนวคิดของพระพุทธปาลิตต่อข้อโต้แย้งของพระภาวะวิเวก โดยวิจารณ์ฝ่ายหลังว่า ใช้ตรรกวิธีที่อนุมานโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ ท่านยังวิพากษ์แนวคิดของพุทธศาสนานิกายต่างๆ เช่นนิกายวิชญานวาท หรือนิกายโยคาจาร [3] ท่านยังโจมตีทัศนะของสำนักของท่านทิคนาคะ นักตรรศาสตร์ชาวพุทธที่มีชื่อเสียง โดยชี้ว่าท่านทิคนาคะ พยายามจะยึดหลักญานวิทยาโดยตั้งประพจน์พื้นฐาน [4]

ผลงานการรจนาของท่านจันทรกีรติ เช่น ประสันนปทา เป็นภาษาสันสกฤตแปลว่า บทคำที่ชัดแจ้ง เป็นอรรถาธิบายตำรามูลมาธยมกการิกา ของพระนาคารชุน และมาธยมกาวตารเป็นตำราเสริมต่อผลงานของพระนาคารชุน ในทิเบตใช้มาธยมกาวตารของท่านเป็นตำราการเรียนการสอนวิทยาลัยสงฆ์ ในวิชาว่าด้วยหลักศูนยตาและปรัชญาของนิกายมาธยมกะ