การเกิด ของ จันทรุปราคาเต็มดวง_ธันวาคม_พ.ศ._2553

จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งดังกล่าวถือว่าเป็นจันทรุปราคาครั้งแรกในรอบเกือบสามปี นับตั้งแต่จันทรุปราคาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551[1] และเป็นจันทรุปราคาครั้งที่สองใน พ.ศ. 2553 โดยครั้งแรกเป็นจันทรุปราคาบางส่วนที่เกิดในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553[2]

จันทรุปราคาครั้งดังกล่าวยังเป็นจันทรุปราคาเต็มดวงที่เกิดขึ้นตรงกับเหมายันซีกโลกเหนือ (ครีษมายันซีกโลกใต้) นับตั้งแต่ พ.ศ. 2181 นับเป็นครั้งที่สองหากนับในศักราชกลาง[3][4]

อุปราคาที่เกี่ยวข้อง

จันทรุปราคาครั้งดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงบัพขาลงของวงโคจรดวงจันทร์ จันทรุปราคามักจะเกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกับสุริยุปราคา สองสัปดาห์ก่อนหรือหลังวันจันทร์ดับในบัพตรงกันข้าม ในกรณีนี้ อุปราคาครั้งดังกล่าวจะเกิดขึ้นก่อนหน้าสุริยุปราคาบางส่วนในช่วงบัพขาขึ้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งสามารถมองเห็นได้จากทวีปยุโรป แอฟริกาเหนือ และเอเชียตะวันตก

จันทรุปราคาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกสองครั้งจะเป็นจันทรุปราคาเต็มดวงทั้งคู่ โดยจะเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554 และ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554

จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งต่อไปที่จะเกิดขึ้นในมายันธันวาคม เป็นอุปราคาคู่แฝดเมตอน จะเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2572 หนึ่งวันก่อนหน้ามายัน

ใกล้เคียง

จันทรุปราคา จันทร์จิรา จูแจ้ง จันทร์ ขนนกยูง จันทรจรัสศรี ไพบูลย์เลิศ จันทรานำพาสู่ต่างโลก จันทรุปราคา มกราคม พ.ศ. 2561 จันทร์พันดาว จันทรุปราคา กันยายน พ.ศ. 2558 จันทรา จันทร์เจ้าเราสอง

แหล่งที่มา

WikiPedia: จันทรุปราคาเต็มดวง_ธันวาคม_พ.ศ._2553 http://www.cbc.ca/technology/story/2010/12/17/luna... http://www.citystatetimes.com/1888/what-time-is-th... http://www.elpasotimes.com/news/ci_16899709 http://www.skyandtelescope.com/observing/objects/e... http://www.timeanddate.com/eclipse/lunar-eclipse-j... http://science.nasa.gov/science-news/science-at-na... https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Lunar_...