จัปจิสาหิบ

จัปจิ (Jap Ji) หรือ จัปจิสาหิบ (Japji Sahib) คือบทสวดตอนเริ่มต้นในคุรุกรันตสาหิบ คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของศาสนาซิกข์ซึ่งแต่งขึ้นโดยคุรุนานักเทพจิ คุรุศาสดาคนแรกในศาสนาซิกข์ บทสวดของจัปจินั้นเริ่มต้นด้วย "มูลมันตรา" ตามด้วย 38 "เปาวรี" (1 เปาวรี = กลอน 1 บท) และปิดด้วย "สาโลกา"[1]เชื่อกันว่าจัปจิสาหิบนั้นเป็นงานเขียนแรกของคุรุนานัก และมีเนื้อความที่ครอบคลุมแก่นของศาสนาซิกข์[1] และยังเป็นคุรุพานิ (บทกลอนในวรรณกรรมซิกข์) ที่สำคัญที่สุดอีกด้วย และเป็นคุรุพานิแรกในนิตนีมส่วนที่เป็นที่จดจำมากคือวาทกรรมของคุรุนานักเรื่อง "อะไรคือการเคารพบูชาที่แท้จริง" และ "อะไรคือธรรมชาติของพระเป็นเจ้า" ซึ่งในจัปจิสาหิบได้ระบุไว้ว่า ลักษณะของพระเป็นเจ้านั้นไม่สามารถอธิบายได้ และการเคารพบูชาที่แท้จริงคือการบูชา "นาม" คือเสียง คำ และพลังภายใน การรับรู้ถึงการมีอยู่ของพระเป็นเจ้า และให้ชีวิตเป็นไปตามพระประสงค์ของพระองค์[2]บทสวดอีกบทที่เกี่ยวข้องกับจัปจิสาหิบ คือ "จาปุสาหิบ" ซึ่งอยู่ในตอนต้นของทาสามกรันตะ ซึ่งแต่งโดยคุรุโควินทสิงห์[1]