จิตภาพแบบปู
จิตภาพแบบปู

จิตภาพแบบปู

จิตภาพแบบปู หรือที่เรียกว่า ทฤษฎีปู[1][2][3][4][5] จิตภาพแบบปูในถัง (ตะกร้า หรือ หม้อ) และ ปรากฏการณ์ปู-ถัง[6] คือวิธีคิดแบบหนึ่งซึ่งอธิบายได้ดีที่สุดด้วยวลี "ถ้าฉันไม่ได้ แกก็ต้องไม่ได้"[7] ภาพพจน์ดังกล่าวได้มาจากการสังเกตรูปแบบพฤติกรรมของปูเมื่อถูกขังในถัง ในขณะที่ปูตัวใดตัวหนึ่งสามารถปีนหนีออกจากถังได้อย่างง่ายดาย[8] ความพยายามของมันจะถูกปูตัวอื่น ๆ ขัดขวาง นำไปสู่จุดจบของปูทั้งถัง[9][10]มีการกล่าวอ้างว่าภาวะที่คล้ายกันในพฤติกรรมมนุษย์คือการที่สมาชิกของกลุ่มกลุ่มหนึ่งจะพยายามบั่นทอนความมั่นใจในตนเองของสมาชิกคนใดก็ตามที่ประสบความสำเร็จเหนือกว่าคนอื่น ๆ เพื่อฉุดรั้งความก้าวหน้าของสมาชิกคนนั้น ด้วยความริษยา ความขุ่นเคือง ความอาฆาต การคบคิด หรือความรู้สึกแข่งขัน[11][12][13][14]

แหล่งที่มา

WikiPedia: จิตภาพแบบปู http://frankpadams.com/upload/97152/documents/4F27... http://www.thehindubusinessline.com/opinion/captur... //doi.org/10.5465%2FAMBPP.2015.13710abstract http://www.ijritcc.org/download/1413605078.pdf http://source.nysut.org/weblink7/DocView.aspx?id=1... http://www.srl.to/u5e2dNha https://books.google.com/books?id=dMZwCgAAQBAJ&pg=... https://books.google.com/books?id=gmltDQAAQBAJ&pg=... https://books.google.com/books?id=hRoYc2hPg2sC&pg=... https://books.google.com/books?id=hydg0bdWd2cC&pg=...