กลวิธี ของ จิตรกรรมฝาผนัง

ในการสร้างจิตรกรรมปูนเปียก ช่างจะฉาบบริเวณที่จะวาดภาพด้วย “arriccio” ที่ทำให้ผนังภายใต้สาก แล้วทิ้งไว้ให้แห้งอีกสามสี่วันก่อนที่จะร่างภาพที่จะวาดลงบนผนังที่ฉาบไว้ โดยใช้สีฝุ่นแดงที่เรียกว่า “sinopia” ภาพที่ร่างก็เรียกว่า “sinopia” เช่นเดียวกัน ต่อมาการร่างใช้วิธีวาดบนกระดาษก่อนที่จะมาทาบบนผนัง ตามขอบรูปก็จะปรุเป็นรอยด้วยวัสดุที่มีความแหลมแล้วทาบกับผนังแล้วใช้ประคบที่บรรจุด้วยผงดำ ๆ ที่เรียกว่า “spolvero” ตบบนตัวร่าง พอเสร็จบนผนังก็จะเป็นรอยร่างคร่าว ๆ จากฝุ่นที่ตบเอาไว้ ถ้าผนังที่จะวาดมีรูปอยู่แล้วช่างก็จะสกัดผิวออกเป็นระยะ ๆ เพื่อให้ปูนที่จะฉาบเกาะติด วันที่จะวาดรูปช่างก็จะฉาบปูนบาง ๆ เรียบบนผนังที่เรียกว่า “อินโทนาโค” ที่เตรียมไว้ การฉาบก็จะฉาบเฉพาะบริเวณที่จะทำเสร็จในวันนั้น การซ่อนรอยต่อของปูนก็อาจจะทำโดยใช้ขอบรูปของตัวแบบ หรือทิวทัศน์ การทาสีมักจะเริ่มจากส่วนที่สูงที่สุดของภาพ บริเวณที่ทาสีเสร็จในวันหนึ่งเรียก “giornata” เราจะศึกษาขั้นตอนการวาดภาพได้จากตะเข็บหรือรอยต่อจากส่วนหนึ่งไปอีกส่วนหนึ่ง

จิตรกรรมปูนเปียกจะเป็นวิธีที่ค่อนข้างยากเพราะจิตรกรมีเวลาวาดเพียงสิบสองชั่วโมงก่อนที่ปูนจะแห้ง ตามปกติแล้วจิตรกรจะรอชั่วโมงหนึ่งหลังจากฉาบก่อนที่จะเริ่มวาดแล้ววาดไปจนราวสองชั่วโมงก่อนที่ปูนจะแห้ง พอปูนแห้งวิธีวาดปูนเปียกก็ต้องหยุดไม่มีการแก้ ปูนที่ยังวาดไม่เสร็จก็ต้องเซาะออก เพื่อที่จะได้ฉาบใหม่ ถ้ามีอะไรผิดบางครั้งก็ต้องลอกปูนที่วาดไว้ออกทั้งหมด หรือมาใช้วิธีวาดบนปูนแห้งแก้ภายหลัง

ถ้าเราดูจิตรกรรมฝาผนังบนผนังขนาดใหญ่เราอาจจะเห็นบริเวณที่วาดอาจจะแบ่งได้ราวสิบถึงยี่สิบบริเวณหรืออาจจะมากกว่านั้นก็ได้ รอบตะเข็บที่เคยซ่อนไว้อย่างแนบเนียนก็อาจจะเด่นชัดขึ้นจนบางครั้งก็มองเห็นได้จากข้างล่าง นอกจากนั้นรอบตะเข็บมักจะแต่งให้เรียบร้อยด้วยวิธีวาดปูนแห้งซึ่งจะหลุดออกมาตามกาลเวลา

ถ้าเป็นงานปูนแห้งล้วน ๆ ปูนที่ฉาบจะมีผิวหยาบ เมื่อแห้งก็จะถูด้วยกระดาษทรายเพื่อให้สีติดดีขึ้น จิตรกรก็จะทาสีเช่นเดียวกับการทาสีบนแผ่นไม้

ใกล้เคียง

จิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี จิตรกรรมฝาผนัง จิตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์ จิตรกรรมบารอกแบบเฟลมิช จิตรกรรม จิตรกรรมไทยประเพณี จิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก จิตรกรรมแผง จิตรกรรมภูมิทัศน์ จิตรกรรมไทย