ประวัติ ของ จีเอ็มเอ็ม_ไท_หับ

การรวมตัวของบริษัท

จีเอ็มเอ็ม ไท หับ หรือ จีทีเอช เกิดจากการร่วมทุนของ 3 บริษัท คือ จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ หับโห้หิ้น ฟิล์ม (ในเครือแกรมมี่) ของ จิระ มะลิกุล และไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ของ วิสูตร พูลวรลักษณ์ โดยชื่อบริษัทใหม่ มาจากชื่อต้น และอักษรย่อหน้าชื่อของบริษัทร่วมทุนทั้งสาม ด้วยทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท ได้แก่ G (51%) T (30%) และ H (19%) [2] โดยภายหลังได้เปลี่ยนเป็น G (จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่) ถือหุ้น 51% T (คนในตระกูล พูลวรลักษณ์) ถือไว้อยู่คนละ 6.6% และ H (บริษัท หับโห้หิ้น บางกอก จำกัด และ จิระ มะลิกุล) ถือหุ้น 13.9% และ 1.3% ตามลำดับ [3]

  • โลโก้ในช่วงปี 2551-2555 (เริ่มใช้ในเรื่อง ตั้ดสู้ฟุด จนถึงเรื่อง ATM เออรัก..เออเร่อ)
  • โลโก้ในช่วงปี 2555-2558 (เริ่มใช้ในเรื่อง รัก 7 ปี ดี 7 หน จนถึงเรื่อง เมย์ไหน..ไฟแรงเฟร่อ)

งานสร้างภาพยนตร์

ผลงานสร้างภาพยนตร์มีความหลากหลาย ตั้งแต่ ภาพยนตร์รัก ภาพยนตร์ผี ภาพยนตร์ตลก ได้รับความนิยมชมชอบและทำรายได้ดีแทบทุกเรื่อง อาทิ เพื่อนสนิท รายได้ 80 ล้านบาท สี่แพร่ง รายได้ 85 ล้านบาท ห้าแพร่ง รายได้ 114 ล้านบาท รถไฟฟ้า มาหานะเธอ รายได้ 147 ล้านบาท กวน มึน โฮ รายได้ 125 ล้านบาท ลัดดาแลนด์ รายได้ 117 ล้านบาท ATM เออรัก เออเร่อ รายได้ 152.5 ล้านบาท พี่มาก..พระโขนง รายได้ 598.96 ล้านบาท (รายได้รวม 1,000 ล้านบาทจากทั่วประเทศ) คิดถึงวิทยา รายได้ 101 ล้านบาท ไอฟาย..แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้ รายได้ 335 ล้านบาท ฟรีแลนซ์..ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ รายได้ 86.7 ล้านบาท เมย์ไหน..ไฟแรงเฟร่อ รายได้ 74.12 ล้านบาท ฯลฯ

การตลาด

ทางด้านการส่งเสริมการตลาด ทางบริษัท ได้นำสินค้าเข้าไปโฆษณาแฝงในภาพยนตร์และละครอย่างเช่น ผู้สนับสนุนการสร้างคือ บริษัท เอพีฮอนด้า เจ้าของผลิตภัณฑ์รถจักรยานยนต์ฮอนด้า ในภาพยนตร์เรื่อง รถไฟฟ้า มาหานะเธอ ให้เหมยลี่มีกิจการที่บ้านเป็นผู้แทนจำหน่ายฮอนด้า [4] ก่อนหน้านี้บริษัทเคยให้การสนับสนุนในทำนองนี้กับภาพยนตร์และซิตคอมหลายเรื่อง เช่น สายล่อฟ้า [5] ปิดเทอมใหญ่ หัวใจว้าวุ่น[6] และเป็นต่อ[7][8]

จีทีเอชยังเคยให้บริการบัตรเดบิตกับธนาคารกสิกรไทย ในชื่อว่า GTH is me [9] (ปัจจุบัน ยกเลิกการให้บริการแล้ว) และมีช่องโทรทัศน์เป็นของตัวเอง ในชื่อว่า "จีทีเอชออนแอร์"

จีทีเอชยังเคยร่วมมือกับเซนโตซา สปู๊คแทคคูล่าห์ ซึ่งเป็นเทศกาลฮาโลวีนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชีย ได้นำธีมของภาพยนตร์สยองขวัญของค่ายไปทำเป็นบ้านผีสิงเป็นธีมภาพยนตร์และเป็นธีมหลักของเทศกาล

การยุติการดำเนินงานของบริษัท

หลังจากมีข่าวลือเรื่องความขัดแย้งและแนวทางในการบริหาร ในที่สุดในช่วงบ่ายของวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ได้มีการแถลงยุติการดำเนินงานของบริษัท เหตุผลเนื่องมาจากกลุ่มผู้ก่อตั้งมีเป้าหมายและความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันในการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งการยุติของบริษัทจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จะเป็นผู้ดูแลสิทธิ์ในส่วนของผลงานที่ผลิตในนาม จีเอ็มเอ็ม ไท หับ ในส่วนของนักแสดงและพนักงานให้เป็นไปตามความสมัครใจของแต่ละบุคคล[10][11] โดยทางจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และหับ โห้ หิ้น ได้แยกกันมาเปิดบริษัทใหม่ภายใต้ชื่อ จีดีเอช ห้าห้าเก้า ซึ่งได้เปิดตัวชื่อเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ปีเดียวกัน ในขณะที่ทางไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ได้หันไปประกาศความร่วมมือกับกลุ่มโมโน และเปิดบริษัทใหม่คือ ที โมเมนต์ เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559 หลังจีดีเอชดำเนินงานได้ 22 วัน

ใกล้เคียง

จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จีเอ็มเอ็มทีวี จีเอ็มเอ็ม 25 จีเอ็มเอ็ม ไท หับ จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ จีเอ็นซีโฟร์ตีเอต จีเอ็มเอเน็ตเวิร์ค จีเอ็มเอ็มทีวี เรคคอร์ด จีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี

แหล่งที่มา

WikiPedia: จีเอ็มเอ็ม_ไท_หับ http://linching2.exteen.com/20091018/entry http://www.facebook.com/GTHappen http://www.facebook.com/TheSecretFarm http://news.gmember.com http://www.hubhohin.com/ http://positioningmag.com/prnews/prnews.aspx?id=26... http://www.positioningmag.com/Magazine/PrintNews.a... http://www.positioningmag.com/magazine/Details.asp... http://www.positioningmag.com/prnews/prnews.aspx?i... http://www.thaiticketmajor.com/concert/star-theque...