ตัวอย่าง ของ จุดฐาน

ยกตัวอย่างเลขฐานสิบ 13.625 จะได้ว่า 13 คือส่วนจำนวนเต็มที่อยู่ทางซ้ายของจุดทศนิยม และ 625 คือส่วนจำนวนเศษที่อยู่ทางขวาของจุดทศนิยม (ซึ่งมีค่า 625/1000)

ยกตัวอย่างเลขฐานสอง 1101.101 แยกแยะเลขโดดตามค่าประจำหลักได้ดังนี้

กำลังของสอง3210−1−2−3
เลขโดดฐานสอง1101.101

ดังนั้น ค่าในเลขฐานสิบของจำนวนนี้จึงสามารถคำนวณได้ดังนี้

1101.101 2 = 1 × 2 3 + 1 × 2 2 + 0 × 2 1 + 1 × 2 0 + 1 × 2 − 1 + 0 × 2 − 2 + 1 × 2 − 3 = 1 × 8 + 1 × 4 + 0 × 2 + 1 × 1 + 1 × 0.5 + 0 × 0.25 + 1 × 0.125 = 8 + 4 + 0 + 1 + 0.5 + 0 + 0.125 = 13.625 10 {\displaystyle {\begin{aligned}1101.101_{2}&=1\times 2^{3}+1\times 2^{2}+0\times 2^{1}+1\times 2^{0}+1\times 2^{-1}+0\times 2^{-2}+1\times 2^{-3}\\&=1\times 8+1\times 4+0\times 2+1\times 1+1\times 0.5+0\times 0.25+1\times 0.125\\&=8+4+0+1+0.5+0+0.125\\&=13.625_{10}\end{aligned}}}

จะเห็นได้ว่า 1101 ซึ่งเป็นส่วนจำนวนเต็มที่อยู่ทางซ้ายของจุดทวินิยม เป็นการแทนเลขฐานสองของ 13 ฐานสิบ และ 101 ซึ่งเป็นส่วนจำนวนเศษที่อยู่ทางขวาของจุดทวินิยม เป็นการแทนเลขฐานสองของ 625/1000 ฐานสิบ (หรือ 5/8)