จุดตัดกลางโบสถ์
จุดตัดกลางโบสถ์

จุดตัดกลางโบสถ์

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งจุดตัด (อังกฤษ: crossing) ในคริสต์ศาสนสถานคือจุดที่ช่องทางเดินกลางตัดกับแขนกางเขนของวัดที่มีผังเป็นรูปกางเขนถ้าเป็นวัดตั้งตามหลักตะวันตก-ตะวันออกโดยเฉพาะวัดแบบโรมาเนสก์ และกอธิค) แล้ว “จุดตัด” ก็จะเป็นจุดที่เป็นทางไปสู่ช่องทางเดินกลางทางตะวันตก (ด้านหน้าวัด) มุขข้างโบสถ์เหนือและใต้ และบริเวณร้องเพลงสวดทางตะวันออกเหนือกางเขนบางครั้งก็จะมีหอหรือโดม หอจุดตัดเป็นสิ่งที่นิยมสร้างกันในสถาปัตยกรรมการก่อสร้างมหาวิหาร[1]ของสถาปัตยกรรมกอธิคอังกฤษ เมื่อมาถึงสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาสิ่งตกแต่งเหนือจุดตัดก็มักจะนิยมสร้างเป็นโดม หอเหนือจุดตัดอาจจะเป็น “หอโคม” (lantern tower) ที่ยกสูงขึ้นไปและเปิดข้างเพื่อให้แสงส่องลงมายังบริเวณจุดตัดการที่จุดตัดเปิดออกไปทั้่งสี่ด้านทำให้น้ำหนักของหอหรือโดมเหนือจุดตัดหนักลงมาตรงมุมรอบหอหรือโดม ฉะนั้นการสร้างสิ่งก่อสร้างที่มั่นคงและสามารถรับน้ำหนักของหอได้โดยไม่พังทลายลงมาจึงขึ้นอยู่กับความสามารถของสถาปนิก เรื่องหอพังทลายลงมาเกิดขึ้นหลายครั้งในประวัติศาสตร์ ซึ่งอาจจะเกิดจากความทะเยอทะยานในการสร้างหอที่สูงใหญ่แต่หนักเกินกว่าที่โครงสร้างจะรับได้ หรือจากการทรุดของพื้นดินที่อยู่ภายใต้ตัวอาคาร หรือจากภัยธรรมชาติเช่นแผ่นดินไหวเป็นต้น