การนำกระแสประสาท ของ จุดประสานประสาทไฟฟ้า

เนื่องจากกระแสไอออนสามารถเคลื่อนตัวผ่านช่องแกปจังชั่นได้อิสระระหว่างสองเซลล์ทำให้กระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นได้ทั้งสองทิศทางซึ่งต่างจากไซแนปส์เคมีที่เกิดได้เพียงทิศทางเดียว คือ จากเซลล์ประสาทก่อนไซแนปส์ (presynaptic neuron) ไปยังเซลล์ประสาทหลังไซแนปส์ (postsynaptic neuron) การมีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นได้ทั้งสองทิศทางนี้เรียกว่าเกิด electrically coupled การส่งสัญญาณประสาทระหว่างไซแนปส์ไฟฟ้าเกิดได้เร็วมากกล่าวคือเมื่อเกิดแอกชั่นโพเทนเชียล (action potential) ในเซลล์ประสาทก่อนไซแนปส์ก็สามารถกระตุ้นการเกิดแอกชั่นโพเทนเชียลในเซลล์ประสาทหลังไซแนปส์ได้ทันที ไซแนปส์ไฟฟ้านี้มีประโยชน์มากในสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น crayfish ซึ่งอาจพบไซแนปส์ไฟฟ้าได้ระหว่างเซลล์ประสาทรับสัมผัส (sensory neuron) กับเซลล์ประสาทสั่งการ (motor neuron) ในวิถีการนำประสาทรีเฟล็กซ์ที่ช่วยในการหนีภายเมื่อถูกคุกคามจากศัตรู