ลักษณะ ของ จุดร้อน

J. Tuzo Wilson ในปี ค.ศ. 1963 ได้เกิดนึกถึงลักษณะของเกาะภูเขาไฟบริเวณแถบฮาวาย ว่าเป็นผลมาจากการการเคลื่อนที่ของธรณีแปรสัณฐานอย่างช้าๆ เมื่อมีการคิดสาเหตุของการเกิดจุดร้อนเหล่านี้ขึ้นมา โดยคิดว่าเกิดจากการไหลแคบๆของแมกม่าจากเนื้อโลกซึ่งร้อน ได้มีการหมุนเวียนขึ้นมาจากบริเวณรอยต่อของแกนโลกและเนื้อโลก ทำให้เกิดเป็น Mantle plume ขึ้น แม้ว่านักธรณีวิทยาบางคนจะให้ความสำคัญกับการหมุนเวียนกระแสแมกม่าในตอนบนของชั้นเนื้อโลกมาก แต่ก็มีบางคนที่กล่าวอ้างว่าจุดร้อนเหล่านี้เป็นผลมาจากพวกอุกกาบาตขนาดใหญ่

นักธรณีวิทยาได้มีการวิเคราะห์จุดร้อนทั่วโลกอยู่ 40-50 จุด ซึ่งพบว่าในบริเวณ Hawaii, Reunion, Yellowstone และ Iceland ที่ยังคงมีการเคลื่อนไหวของจุดร้อนเหล่านี้อยู่

จุดร้อนเหล่านี่ ส่วนใหญ่มีองค์ประกอบเป็นหินบะซอลท์ เพราะว่ามันปะทุขึ้นมากจาชั้นธรณีฐานมหาสมุทร (เช่นที่ Hawaii และ Tahiti) จุดร้อนเหล่านี้เกิดจากการระเบิดน้อยกว่าการเกิดภูเขาไฟอันเนื่องมาจากการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก (Subduction zone) ในบริเวณที่มีน้ำอยู่ใต้เปลือกโลกที่สำคัญ เมื่อจุดร้อนเกิดขึ้นใต้แผ่นเปลือกโลกทวีป แมกม่าที่มีองค์ประกอบเหมือนหินบะซอลท์จะเข้าไปในบริเวณที่เปลือกโลกทวีปนั้นมีความหนาแน่นน้อย ซี่งมันจะร้อนและทำให้เกิดการหลอมเหลว จึงทำให้เกิดเป็นหิน โดยที่หินไรโอไลท์เหล่านี้มีความร้อนพอสมควรและทำให้เกิดการระเบิดที่รุนแรง ทั้งๆที่มีปริมาณน้ำอยู่น้อย ยกตัวอย่างเช่นที่ภูเขาไฟ Yellowstone ซึ่งเกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟที่ทรงพลังมากที่สุดครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์ทางธรณีวิทยา อย่างไรก็ตามเมื่อแมกม่าที่มีองค์ประกอบเป็นไรโอไลท์ระเบิดอย่างสมบูรณ์ ในที่สุดแล้วก็จะได้ก็จะได้การระเบิดของแมกม่าที่มีองค์ประกอบเป็นบะซอลท์ตามมา ผ่านไปตามแนวที่เปราะบางของชั้นแผ่นเปลือกโลก ตัวอย่างในกรณีนี้คือ Ilgachuz Range ในโคลัมเบีย ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงแรกของการเกิดเป็น Trachyte และไรโอไลท์ แต่ในระยะเวลาต่อมาเกิดการปะทุขึ้นของลาวาทีมีองค์ประกอบเป็นบะซอลท์