จุลจิตรกรรมในเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร
จุลจิตรกรรมในเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร

จุลจิตรกรรมในเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งจุลจิตรกรรมสำหรับหนังสือวิจิตร (อังกฤษ: Miniature (illuminated manuscript)) คำว่า “Miniature” มาจากภาษาละตินว่า “Minium” ที่หมายถึงสารสีเลดเทโทรไซด์” หรือ “ตะกั่วแดง” (Lead tetroxide) คือหนังสือวิจิตรโบราณหรือจากยุคกลาง หรือ ลายตกแต่งอย่างง่ายๆ ของกฎบัตรที่ตกแต่งด้วยสารสีตะกั่วแดงดังกล่าว การที่ภาพโดยทั่วไปจากยุคกลางมักจะมีขนาดเล็กทำให้สับสนกับจิตรกรรมขนาดเล็กโดยเฉพาะภาพเหมือนขนาดเล็ก (portrait miniature) ที่พัฒนามาจากลักษณะการวาดที่มีประวัติคล้ายคลึงกันนอกไปจากธรรมเนียมการวาดจุลจิตรกรรมทางตะวันตกและไบแซนไทน์แล้ว ทางตะวันออกก็มีการเขียนจุลจิตรกรรมที่มักจะเป็นภาพที่มีเนื้อหามากกว่าทางตะวันตก และจากที่เป็นงานที่เขียนสำหรับหนังสือก็พัฒนาไปเป็นงานเขียนเป็นแผ่นๆ ที่ใช้เก็บในอัลบัมได้ ที่เรียกว่าจุลจิตรกรรมเช่นเดียวกับทางตะวันตก แต่มีลักษณะเดียวกับภาพเขียนสีน้ำ จุลจิตรกรรมทางตะวันออกก็รวมทั้งจุลจิตรกรรมเปอร์เซีย และ จุลจิตรกรรมโมกุล, จุลจิตรกรรมออตโตมัน และ จุลจิตรกรรมอินเดีย

ใกล้เคียง

จุลจิตรกรรมภาพเหมือน จุลจิตรกรรมในเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร จุลจิตรกรรม จุลจักร จักรพงษ์ จุนจิ อิโต จุลินทรีย์ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ จุนจิ อิโต้: รวมเรื่องสยองขวัญญี่ปุ่น จุลศิลป์ จุนจิ มาจิมะ