วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ของ จู_ซี

อาจารย์หูเต้าจิ้งได้กล่าวว่า "จูซีเป็นนักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติที่ค่อนข้างประสบความสำเร็จคนหนึ่งในประวัติศาสตร์จีน"Joseph Needham (李约瑟) ผู้ซึ่งทำงานทางด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติได้ยืนยันความสำเร็จของจูซีว่า "จูซีเป็นบุคคลผู้หนึ่งที่ศึกษาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติได้อย่างลึกซึ้ง" เขายังได้ประเมินคุณค่าหลักการของจูซีในการเปรียบเทียบระหว่างเกล็ดหิมะกับหินสีดำซึ่งจูซีได้อธิบายว่าเหตุใดเกล็ดหิมะจึงมีหกแฉก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของเทคโนโลยีในยุคต่อมา โจเซฟ นีดแฮม เห็นว่า "จูซีเป็นคนแรกที่วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของหินได้" ซึ่งนับว่าค้นพบก่อนโลกตะวันตกถึง 400 กว่าปี[6]

แต่กระนั้นจูซีก็ยังขาดการพัฒนาทางด้านคณิตศาสตร์ ดังที่หวงเหรินอวี๋(黄仁宇)ได้กล่าวว่า "หากสำนักหลักการหรือสำนักเต๋ามีการศึกษาสรรพสิ่งที่มากไปกว่านี้(นำสิ่งที่เป็นนามธรรมกับรูปธรรมมารวมกัน) ซึ่งใช้แค่งานศิลปะยืนยัน แต่มิอาจใช้ตัวเลขพิสูจน์ได้" หากผลลัพธ์เป็นดังที่โจเซฟ นีดแฮมได้กล่าวไว้ว่า"จูซีไม่ได้สร้างมโนทัศน์ทางจักรวาลวิทยาแบบนิวตัน แต่ได้สร้างมโนทัศน์ทางจักรวาลวิทยาแบบไอน์สไตน์"[7] นักวิชาการจำนวนมากเห็นว่ามโนทัศน์ทางธรรมชาติของจีนโบราณเป็นอยู่บนฐานแนวคิดหยิน-หยางและธาตุทั้ง 5 ซึ่งขัดขวางความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์[8] เมื่อนักปรัชญาจีนได้พยายามอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ มักอ้างปรัชญาธรรมชาติ อย่างเช่น "ไฟฟ้าเกิดจากพลังของหยินและหยาง", "แผ่นดินไหวเกิดจากพลังหยางถูกปกปิด พลังหยินเคลื่อนตัว"[9][10] ในแง่นี้ถือว่าเป็นแนวคิดของประสบการณ์นิยมและรหัสยนิยมซึ่งแทรกซึมลงไปในระบบทฤษฎีวิทยาศาสตร์ของจีนโบราณ