ประวัติ ของ จูเช

ต้นตอ

จูเช
โชซ็อนกึล주체사상
ฮันจา思想
MRChuch'e sasang
RRJuche sasang

จูเช เป็นคำศัพท์จีน-เกาหลีที่ยากจะแปล ตามตัวอักษรมันหมายถึง "อัตวิสัย" หรือ "ตัวแทน" และในวาทกรรมทางการเมืองมีความหมายโดยนัยของ "การพึ่งพาตัวเอง" และ "ความเป็นอิสระ"[1][2] การอ้างอิงแรกที่เป็นที่รู้จักของจูเชในฐานะอุดมการของเกาหลีเหนือคือคำปราศรัยกล่าวโดยคิม อิล-ซ็องเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม คริสศักราช 1955 หัวข้อว่า "บนการกำจัดลัทธิและความเป็นพิธีและการสถาปนา "จูเช" ในงานทางอุดมการณ์" ถูกตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการกวาดล้างทางการเมืองซึ่งคล้ายกับขบวนการสัตยาบันหยานอันที่มามาก่อนในจีน[3]

ฮวัง จัง-ยอพผู้เป็นที่ปรึกษาสูงสุดของคิมในด้านอุดมการณ์ ได้ค้นพบถ้อยแถลงของคิมเมื่อคริสต์ศักราช 1955 ในเวลาที่คิมได้สถาปนาลัทธิบูชาบุคคล[4]ได้ค้นหาเพื่อจะพัฒนาลัทธิมาร์ซเลนินแบบของเขาเองให้เขากับหลักความเชื่อของเกาหลีเหนือ[5][6] เหมือนกับลัทธิมาร์ซ-เลนิน อุดมการณ์ จูเช นำเอาอเทวนิยมโดยรัฐมาใช้ด้วย[7] แหล่งข่าวชาวเกาหลีเหนือเสนอว่าต้นกำเนินของ "จูเช" เป็นผลจากคำแถลงของคิม อิล-ซ็องในวันที่ 30 มิถุนายน คริสต์ศักราช 1930[8]

พัฒนาการ

ในการปราศรัยค.ศ 1955 ของเขา จูเช ถูกอ้างถึงเป็นครั้งแรก คิม อิล-ซ็องได้แถลงว่า [9]:421:422

เพื่อที่จะปฏิวัติเกาหลี เราต้องรู้ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ของเกาหลี รวมทั้งจารีตประเพณีของประชาชนเกาหลี เมื่อนั้นการให้การศึกษาประชาชนในทางที่เหมาะสมกับพวกเขาและเพื่อสร้างบันดาลใจให้ความรักในบ้านเกิดของพวกเขาและแผ่นดินแม่ของพวกเขาในหมู่พวกเขาได้ลุกโชนขึ้นก็จะเป็นไปได้

ถ้อยแถลงมุ่งเน้นไปที่ความสำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์เกาหลี ผ่านการศึกษาประวัติศาสตร์ของประชาชนเกาหลีจะ"กระตุ้นควาามภูมิใจในชาติและและกระตุ้นมวลชนในวงกว้างที่จะต่อสู้เพื่อการปฏิวัติ" เน้นที่เหตุการณ์สำคัญที่ผ่านมาและวิธีป้องกันผลลัพธ์บางประการ การต่อสู้ได้รับการจดจำ การไม่ได้เรียนรู้สิ่งที่ผ่านมาของพวก หรือปฏิเสธมันจะหมายถึง "ว่าประชาชนไม่ได้ทำอะไร"

ในถ้อยแถลง "ว่าด้วยการก่อสร้างแบบชาวสังคมนิยมและการปฏิวัติเกาหลีใต้ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี" กล่าวเมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ.1965 คิม อิล-ซ็องได้วางโครงร่างหลักการพื้นฐานของจูเชดังนี้:

  1. ความเป็นอิสระทางการเมือง (โชซ็อนกึล: 자주; ฮันจา: 自主; เอ็มอาร์: chaju; อาร์อาร์: jaju)
  2. การเลี้ยงดูตนเองทางเศรษฐกิจ (โชซ็อนกึล: 자립; ฮันจา: 自立; เอ็มอาร์: charip; อาร์อาร์: jarip)
  3. การพึ่งพาตนเองในการป้องกันประเทศ (โชซ็อนกึล: 자위; ฮันจา: 自衛; เอ็มอาร์: chawi; อาร์อาร์: jawi)