เกมและกติกาที่ปรากฏ ของ จู๊กบ็อกซ์เกม

รอบแรก

  • รูปแบบแรก : เกมร้องเพลง(3 ตุลาคม พ.ศ. 2539 - 15 มกราคม พ.ศ. 2543) ในแต่ละข้อจะมีตัวอักษรและคำบังคับทั้งหมด 3 คำ โดยข้อแรกจะให้ตัวอักษร 3 ตัวอักษรนำหน้า เช่น ก/ค/ส ข้อที่ 2 จะให้คำบังคับ 3 คำ และข้อที่ 3 จะให้ชื่อศิลปินที่พิธีกรกำหนดให้ 3 ชื่อ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องกดไฟเพื่อเลือกตัวอักษรนำหน้าและร้องเพลงให้ถูกต้อง โดยคนแรกได้ 3 คะแนน คนที่ 2 ได้ 2 คะแนน คนที่3 ได้ 1 คะแนน ตามลำดับ ภายหลังเปลี่ยนการให้คะแนนเป็น 2 คำแรก คำละ 1 คะแนน และคำสุดท้าย 2 คะแนน
  • รูปแบบที่ 2 : บอกใบ้ทายศิลปิน(22 มกราคม พ.ศ. 2543 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2543) ชุดใบ้คำมี 3 ชุด เลือกมา 1 ชุด ในแต่ละชุดมีชื่อศิลปินที่ไม่ซ้ำกัน มีทั้งหมด 10 ศิลปิน กำหนดให้ครบ 5 ศิลปิน(ชื่อละ 1 คะแนน) เพื่อสะสมคะแนนในรอบต่อไป โดยผู้เข้าแข่งขันให้เป็นคนใบ้และเป็นคนตอบ มีเวลาในการใบ้ 60 วินาที ถ้าคนใบ้พูดชื่อคำตอบออกมาจะถือว่าฟาวล์ หากชื่อไหนไม่มั่นใจ สามารถขอข้ามได้
  • รูปแบบที่ 3 : เสียงของใคร(6 มกราคม พ.ศ. 2544 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2544) ในรอบนี้ผู้แข่งขันทั้ง 2 ทีม จะต้องฟังเสียงร้องจากโจทย์เพลงที่ทีมงานกำหนดไว้ จากนั้นให้เขียนคำตอบว่า ใครเป็นคนที่ร้องเพลงนี้(ซึ่งไม่ใช่เจ้าของต้นฉบับ) ถ้าตอบถูกจะได้ 1 คะแนน ต่อ 1 ข้อ
  • รูปแบบที่ 4 : เพลงปริศนา(7 เมษายน พ.ศ. 2544 - 15 มกราคม พ.ศ. 2548) ในแต่ละสัปดาห์จะมีศิลปินรับเชิญ มาร้องเพลงในแต่ละข้อ ทั้งหมด 2 ข้อ(ตั้งแต่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ได้เพิ่มเป็น 3 ข้อ) โดยให้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 2 ทีม เขียนคำตอบลงบนกระดาน เพื่อทายว่าเพลงที่ร้องไปนั้น คือเพลงอะไรและของศิลปินคนไหน ถ้าตอบถูกในแต่ละข้อ จะได้ไป 1 คะแนน แต่ถ้าตอบผิดจะไม่ได้คะแนนในข้อนี้ ส่วนศิลปินรับเชิญจะได้รับของที่ระลึกจากทางรายการ ในระยะต่อมา (2547-2548) ได้ปรับกติกาใหม่ โดยเชิญนักดนตรีรับเชิญที่ถนัดในแต่ละเครื่องดนตรี มาเล่นดนตรี โดยให้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 2 ทีม ฟังเพลงโจทย์(โดยไม่มีเนื้อร้อง แต่จะมีแค่ทำนองของเพลงนั้น) หากทราบคำตอบแล้วให้กดปุ่มไฟ เพื่อทายว่าเพลงที่เล่นไปนั้น คือเพลงอะไรและของศิลปินคนไหน เกมในรอบนี้เล่นทั้งหมด 3 ข้อ โดยการให้คะแนนยังคงเหมือนเดิมทุกประการ(ยกเว้นถ้าตอบผิด อีกทีมหนึ่งจะได้สิทธิ์ตอบทันที)

รอบที่ 2

รูปแบบแรก : ทายใจศิลปิน(3 ตุลาคม พ.ศ. 2539 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2543) ปรัศนีนักร้องรับเชิญ มาจากนักร้องทุกแนว ไม่จำกัดค่าย สัปดาห์ละ 1 ท่าน หรือ 1 วง มาพูดคุยเกี่ยวกับอัลบั้มเพลง และ การทำงานของศิลปิน พร้อมกับ มีคำถาม 3 ข้อ คือ ศิลปินที่ชื่นชอบคือใคร เพลงที่ชื่นชอบคือเพลงไหน และอัลบั้มที่ชื่นชอบคืออัลบั้มไหน(และในยุคแรกเปิดโอกาสให้ผู้ชมทางบ้านส่งรูปเข้ามาร่วมสนุกในรายการ หากรูปที่ส่งมาถูกคัดเลือกเข้ามาในรายการ จะได้รับของรางวัลพิเศษจากทางรายการ) โดยผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนหรือแต่ละทีม จะต้องตอบใน 3 ตัวเลือก หากตอบถูกจะได้คะแนนไปข้อละ 1 คะแนน

รูปแบบที่ 2 : ละครปริศนาทายเพลง(6 มกราคม พ.ศ. 2544 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2544) ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 2 ทีม จะต้องดูละครสั้นจากคณะตลกชวนชื่น เพื่อตอบคำถามจากเรื่องราวของเพลงนั้น ทั้งหมด 3 ข้อ หากตอบถูกในแต่ละข้อ จะได้คะแนนไปข้อละ 1 คะแนน

รูปแบบที่ 3 : คาราโอเกะ(7 เมษายน พ.ศ. 2544 - 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545) ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 2 ทีม จะต้องเลือกเพลง 1 ชุด จาก 4 ชุดเพลง โดยทั้ง 2 คน จะต้องร้องเพลงตามเนื้อร้องที่หายไปให้ถูกต้อง หากร้องถูกครบทุกประโยค จะได้ 2 คะแนน แต่ถ้าหากร้องผิด(เช่น คำร้องผิด,ประโยคผิด,และลืมเนื้อ) จะไม่ได้คะแนนในเพลงนั้น

รูปแบบสุดท้าย : บอกใบ้ทายเพลงดัง(19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2547) ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 2 ทีม จะต้องเลือก 1 ชุดคำใบ้ โดยชุดใบ้คำมี 4 ชุด ในแต่ละชุดมีชื่อเพลงที่ไม่ซ้ำกัน มีทั้งหมด 10 คำ ภายในเวลา 90 วินาที โดยคนนึงจะเป็นคนใบ้ และอีกคนนึงจะเป็นคนตอบ ถ้าตอบถูกในแต่ละคำ จะได้คะแนนไปคำละ 1 คะแนน ถ้าคนใบ้พูดชื่อคำตอบออกมาจะถือว่าฟาวล์ หากชื่อเพลงไหนไม่มั่นใจ สามารถขอข้ามได้ และรอบ2 คะแนนที่ตอบถูกในแต่ละคำ มีค่าเพิ่มเป็นคำละ 2 คะแนน โดยเกมนี้จะเล่นทั้งหมด 2 รอบด้วยกัน ทีมไหนทำคะแนนรวมได้มากที่สุด ทีมนั้นจะได้ 2 คะแนนไปในรอบนี้ แต่ถ้าหากคะแนนรวมทั้ง 2 ทีมเท่ากัน ทั้ง 2 ทีมก็จะได้คะแนนไปเช่นกัน

รอบตัดเชือก(รูปแบบแรก)(3 ตุลาคม พ.ศ. 2539 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2543)

โดยมีคำถามทั้งหมด 5 ข้อ ผู้เข้าแข่งขันทราบคำตอบแล้วให้กด โดยไม่ต้องฟังสัญญาณจากพิธีกร ซึ่งในบางข้อให้ตอบชื่อเพลง หรือชื่อศิลปิน มีดังนี้

  • เมโลดีเพลง โดยจะให้ฟังเสียงทำนองของเพลง (เมโลดี้) แล้วให้ตอบชือเพลงให้ถูกต้อง
  • สปีดเพลง โดยจะฟังเสียงเพลงในแบบยานและเร็ว
  • เติมเนื้อเพลง โดยมีวรรคในเนื้อเพลงจะต้องหาคำในเนื้อเพลงที่หายไป
  • อินโทรเพลง ให้ฟังเพลงเริ่มต้น (อินโทร) ตามที่โจทย์กำหนด
  • ร้องเพลงจากคำสั่งบังคับ

ผู้เข้าแข่งขันหรือทีมไหนทำคะแนนสะสมรวมได้มากที่สุด จะเข้าไปเล่นในรอบแจ็คพอตทันที และถ้าหาก 2 หรือ 3 ทีมมีคะแนนเท่ากัน ก็จะเล่นในข้อตัดสินเพื่อหาทีมที่ชนะ ถ้าตอบถูกก็จะเข้าไปเล่นในรอบแจ็คพอตเช่นกัน

รอบตัดเชือก(รูปแบบที่ 2 : ทายเพลง)(7 เมษายน พ.ศ. 2544 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2547)

รูปแบบแรก(7 เมษายน พ.ศ. 2544 - 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545)ในรอบนี้จะมีแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักทั้งหมด 10 แผ่นป้าย โดยแต่ละแผ่นป้ายจะมีรูปศิลปินอยู่ 5 แผ่นป้ายซึ่งหมายถึงให้ทายชื่อเพลง และอีก 5 แผ่นป้ายจะเป็นป้ายรูปตู้เพลง ซึ่งหมายถึงทายชื่อศิลปิน โดยแต่ละทีมจะต้องทายชื่อเพลงให้ถูกต้อง ภายในเวลา 10 วินาที หากทายถูกจะได้คะแนนในข้อละ 3 คะแนน แต่ถ้าทายผิดหรือตอบไม่ทันจนหมดเวลา จะไม่ได้คะแนนในข้อนั้นไป ทีมไหนทำคะแนนได้มากกว่า จะเข้าไปเล่นในรอบแจ็คพอตทันที หากทั้ง 2 ทีมมีคะแนนเท่ากัน จะต้องเลือกเพิ่มอีก 1 แผ่นป้าย เพื่อเล่นในข้อตัดสินหาทีมที่ชนะ ถ้าตอบถูกก็จะเข้าไปเล่นในรอบแจ็คพอตเช่นกัน

รูปแบบที่ 2(19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2547)ในรอบนี้จะมีแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักทั้งหมด 20 แผ่นป้าย โดยแต่ละแผ่นป้ายจะมีรูปศิลปินอยู่ ซึ่งหลังจากเลือกป้ายแล้ว จะต้องฟังเพลงให้จบ แล้วทายชื่อเพลงและศิลปินให้ครบถ้วน หากเปิดป้ายเฉลยแล้วทายถูกจะได้คะแนนในข้อละ 3 คะแนน แต่ถ้าทายผิดหรือตอบไม่ทันจนหมดเวลา จะไม่ได้คะแนนในข้อนั้นไป ทีมไหนทำคะแนนได้มากกว่า จะเข้าไปเล่นในรอบแจ็คพอตทันที หากทั้ง 2 ทีมมีคะแนนเท่ากัน จะต้องเลือกเพิ่มอีก 1 แผ่นป้าย เพื่อเล่นในข้อตัดสินหาทีมที่ชนะ ถ้าตอบถูกก็จะเข้าไปเล่นในรอบแจ็คพอตเช่นกัน

รอบตัดเชือก(รูปแบบที่ 3 : ...คืออะไร?)(3 เมษายน พ.ศ. 2547 - 25 ธันวาคม พ.ศ. 2547)

ในรอบนี้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 2 ทีม จะต้องดูเอ็มวีคาราโอเกะ แล้วจับสังเกตที่เนื้อร้องให้ดีๆว่า "เนื้อร้องที่หายไปนั้นคืออะไร?" จากนั้นทั้ง 2 ทีมจะต้องเขียนคำตอบลงในกระดาน หากตอบถูกจะได้คะแนนไปในแต่ละข้อ เช่น ข้อที่1 1 คะแนน ข้อที่ 2 ได้ 2 คะแนน และข้อที่3 ได้ 3 คะแนน(ภายหลังเปลี่ยนการให้คะแนนเป็นข้อที่2 1 คะแนน ข้อที่ 3 ได้ 2 คะแนน และข้อที่4 ได้ 3 คะแนน โดยเพิ่มรางวัลพิเศษในข้อที่1 หากทีมไหนตอบถูกจะได้รางวัลพิเศษจากผู้สนับสนุนหลักทันที) ทีมไหนทำคะแนนสะสมรวมได้มากที่สุด จะเข้าไปเล่นในรอบแจ็คพอตทันที และหากทั้ง 2 ทีมมีคะแนนเท่ากัน ก็จะเล่นในข้อตัดสินเพื่อหาทีมที่ชนะ หากทีมไหนตอบถูกก็จะเข้าไปเล่นในรอบแจ็คพอตเช่นกัน

รอบแจ๊กพอต

รูปแบแรก(3 ตุลาคม พ.ศ. 2539 - 28 กันยายน พ.ศ. 2541) ในรอบนี้ผู้แข่งขันหรือทีมที่ชนะ จะต้องเลือกแผ่นป้ายจากผู้สนับสนุนหลักทั้งหมด 30 แผ่นป้าย(ในช่วงปี2539-2540 มีทั้งหมด 15 แผ่นป้าย,และปี2543 เหลือเพียง 18 แผ่นป้าย) ในแต่ละป้ายจะมีรูปตู้เพลงอยู่ 15 แผ่นป้าย(8 หรือ 9 แผ่นป้าย)ซึ่งหมายถึงให้ทายชื่อศิลปิน และรูปศิลปินอีก 15 แผ่นป้าย(7 หรือ 9 แผ่นป้าย)ซึ่งหมายถึงให้ทายชื่อเพลง ผู้แข่งขันจะต้องให้ทายชื่อเพลงหรือชื่อศิลปินให้ถูกต้อง ภายในเวลา 10 วินาที เพื่อสะสมเหรียญตู้เพลงเหรียญละ 10,000 บาท หากสะสมครบ 6 เหรียญ จะได้รับเงินรางวัลสะสม 100,000 บาท ส่วนรอบตู้เพลง จะเป็นการเลือกเพลงจากตู้เพลง โดยทางรายการได้กำหนดเพลงโจทย์บังคับไว้ ในตู้เพลงจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือปุ่มบนตู้มีตั้งแต่ A-F และปุ่มล่าง 0-9 ผู้เข้าแข่งขันจะต้องหยอดเหรียญเพื่อกดเลือกเพลงให้ถูกต้อง หากเลือกถูกในแต่ละครั้ง จะได้รับชุดโฮมเธียเตอร์หรือชุดเครื่องดนตรีพร้อมกับเงินรางวัลที่สะสมมาในช่วงแรก รวมทั้งสิ้น 200,000 บาท(ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชคคือ เครื่องใช้ไฟฟ้าพานาโซนิค) แต่กรณีที่กดหาเพลงไม่ถูกต้องครบ 6 ครั้ง จะไม่ได้รับของรางวัลพิเศษไป แต่จะได้เงินรางวัลที่สะสมกลับไปด้วย หรือบางครั้งพิธีกรจะให้ผู้เข้าแข่งขันหาเพลงประจำรายการ โดยจะต้องเลือกระหว่าง A1 หรือ A2 ถ้ากดเลือกเพลงถูกจะได้รับเครื่องเสียงหรือวิทยุทรานซิสเตอร์พร้อมกับเงินรางวัลที่สะสมกลับบ้านไป

รูปแบบที่ 2(3 ตุลาคม พ.ศ. 2541 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2547) ในรอบนี้จะเป็นการเรียงเลข 1-5 โดยทีมผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกได้ว่าจะเรียงเหมือนหรือไม่เหมือน จากนั้นผู้แข่งขันจะสลับตัวเลข โดยสามารถสลับสับเปลี่ยนได้ตามใจชอบ จากนั้นพิธีกรจะเปิดป้ายเฉลยในแต่ละตัวเลข ถ้าเรียงเหมือนได้ถูกต้องตามตามตัวเลขที่เลือกไว้ครบ 5 ตัวเลข จะได้รับเงินรางวัล 500,000 บาทบวกกับเงินรางวัลที่ได้สะสมมาในรอบทายเพลง แต่ถ้าเรียงไม่เหมือนถูกหมดครบทั้ง 5 ตัวเลข จะได้รับเงินรางวัลที่ได้สะสมมาในรอบทายเพลง โดยถูกเป็นคูณ3ทันที(ภายหลังในปี2544-2547 ถ้าเรียงถูกทั้งหมดหรือเรียงไม่เหมือนถูกหมดครบทั้ง 5 ตัวเลขจะได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท บวกกับเงินรางวัลที่ได้เข้ารอบกลับบ้านไป)(ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชคคือ เซลลูล่าร์ 900,มันโชส,ดิจิตอลจีเอสเอ็ม 2 วัตต์,และวันทูคอล) แต่ถ้าเลือกไม่เหมือนกันหรือเรียงไม่ถูกเลยสักตัว ก็จะได้เงินรางวัลที่สะสมกลับไป

รูปแบบที่ 3(3 เมษายน พ.ศ. 2547 - 25 ธันวาคม พ.ศ. 2547) ในรอบนี้จะมีแผ่นป้ายจากผู้สนับสนุนหลักทั้งหมด 18 แผ่นป้าย แบ่งเป็นป้ายรูปตู้เพลง 9 แผ่นป้าย และป้ายรูปหน้าศิลปิน 9 แผ่นป้าย ผู้แข่งขันจะต้องทายชื่อเพลงหรือชื่อศิลปินให้ถูกต้อง ภายในเวลา 10 วินาที โดยทายถูกในแต่ละข้อจะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท และถ้าหากทายถูกครบทั้ง 6 ข้อ จะได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท แต่ถ้าทายผิดจะไม่ได้เงินรางวัลสะสมในข้อนั้นไป

ใกล้เคียง