ภาษา ของ จ้วง

ดูบทความหลักที่: ภาษาจ้วง
สืบดิบผู้จ่อง
อักษรที่ดัดแปลงจากละติน

ภาษาจ้วงแบ่งเป็นกลุ่มหลักได้สองสำเนียงคือ ภาษาจ้วงเหนือ และจ้วงใต้[4] ด้วยปัจจัยทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ ทำให้เสียงและคำศัพท์ของภาษาจ้วงในแต่ละท้องที่ มีความแตกต่างกัน นอกจากสำเนียงหลักสองสำเนียงแล้ว ยังมีสำเนียงท้องถิ่นอีก 13 สำเนียง[4] แต่ด้านไวยากรณ์แทบไม่มีความแตกต่างกัน สำเนียงจ้วงเหนือมีผู้ใช้จำนวนร้อยละ 80 ของประชากร และหากเปรียบเทียบคำศัพท์ระหว่างจ้วงเหนือและจ้วงใต้ก็จะพบคำศัพท์ที่ใช้เหมือนกันถึงร้อยละ 60[4]

เดิมภาษาจ้วงมีอักษรของตนเองที่สร้างตามแบบอักษรฮั่นที่เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1[4] เรียกว่า สือดิบผู้จ่อง () แต่ได้มีการประดิษฐ์อักษรจ้วงขึ้นใหม่ที่พื้นฐานมาจากอักษรละตินในช่วงตอนกลางทศวรรษที่ 1950 และต่อมาได้กำหนดให้อักษรดังกล่าวเป็นอักษรของชนชาติจ้วงตามกฎหมาย[4] ด้วยเหตุที่มีผู้ใช้ภาษาจ้วงเหนือมากกว่าจ้วงใต้ จึงใช้ภาษาจ้วงเหนือเป็นภาษาพื้นฐาน และถือสำเนียงจ้วงเหนือที่อำเภออู่หมิงเป็นสำเนียงมาตรฐานมาใช้สร้างตัวหนังสือจ้วง[5]

จ้วงเหนือ (อู่หมิง)จ้วงใต้ (เต๋อป่าว-จิ้งซี)จ้วงใต้ (ต้าซิน)ภาษาไทย (กรุงเทพฯ)
1ปอปอโพพ่อ
2แม่แม่เม่ (หรือ เม)แม่
3หร่านหรู่งเหรื่อนบ้านเรือน
4หว่ายหว่ายหว่ายควาย
5ด๊าดดู๊ดเดือด (หรือ ลอน)ร้อน
6ตั๋งหง่อนทาหวันหาหวั่นตะวัน
7ล่อง, เดื๋อนห้าย (เบื้อน/เดื้อน)หาย (เบือน)เดือน
8ฟ้าบ๋นฟ้าฟ้า (หน้าฟ้า)ฟ้า
9ตาตาท่า (เหมือง)แม่น้ำ
10ไจ๋หน่าไถหน่าไถหน่าไถนา

แม้ว่าภาษาจ้วงจะจัดอยู่ในตระกูลภาษาขร้า-ไท แต่ได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากภาษาจีนถิ่นตะวันตกเฉียงใต้[6] ชาวจ้วงเองซึ่งอยู่ต่างพื้นที่กัน มักใช้ภาษาจีนกลาง หรือจีนกวางตุ้งเป็นภาษากลางเพื่อสื่อสารกันระหว่างกลุ่ม[7] จากการสำรวจในปี ค.ศ. 1980 พบว่าชาวจ้วงร้อยละ 42 ยังคงใช้ภาษาจ้วงเป็นภาษาแม่ ขณะเดียวกันก็มีชาวจ้วงที่ใช้สองภาษา คือ จีนและจ้วง มีถึงร้อยละ 55 ขณะที่การศึกษาภาคบังคับของชาวจ้วงในเขตปกครองตนเองกว่างซี เป็นแบบสองภาษา คือ จีนกลาง และจ้วง โดยมุ่งเน้นการอ่านออกเขียนได้ในภาษาจ้วงขั้นต้นเท่านั้น[6]