ในวรรณกรรมสมัยพระเวท ของ ชนก

วรรณกรรมสมัยพระเวทตอนปลาย เช่น ศตปถพราหมณะ และ พฤหทารัณยกอุปนิษัท ระบุว่า มีกษัตริย์นักปราชญ์พระองค์หนึ่งครองรัฐวิเทหะในราวศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล มีพระนามว่า ชนก มีพระเกียรติยศเลื่องลือเพราะเหตุที่ได้ทรงอุปถัมภ์วัฒนธรรมและปรัชญาพระเวท ราชสำนักของพระองค์เป็นศูนย์กลางแห่งภูมิปัญญาเพราะอุดมด้วยฤษี ที่มีชื่อเสียงเช่น ฤษียาชญวัลกยะ[4] ในรัชกาลของพระองค์ รัฐวิเทหะได้เป็นศูนย์กลางหลักทางการเมืองและวัฒนธรรมแห่งอนุทวีปอินเดีย[5]