การใช้ในการเขียนโปรแกรม ของ ชนิดข้อมูลแบบบูล

ภาษาคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มักมีชนิดข้อมูลแบบบูลเป็นชนิดข้อมูลพื้นฐาน เช่น ภาษาซีพลัสพลัส เป็นต้น ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ เช่น ≤ , ≠ จะให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นชนิดข้อมูลแบบบูล อาจนำผลลัพธ์ที่ได้ไปตรวจสอบค่าความจริงโดยคำสั่งเงื่อนไข หรือคำสั่งทำซ้ำ ค่าจริงและเท็จในภาษาส่วนใหญ่ มักถูกแทนด้วยเลข 1 และ 0 ตามลำดับ ถึงแม้การเก็บข้อมูล จริง/เท็จ จะสามารถเก็บได้ใน 1 บิต แต่จะยากต่อการประมวลผลในหน่วยประมวลผลกลาง จึงทำให้มีการออกแบบชนิดข้อมูลแบบบูลให้ใช้เนื้อที่ 1 ไบต์

บางภาษาที่ไม่มีชนิดข้อมูลแบบบูลเป็นชนิดข้อมูลพื้นฐาน เช่นภาษาซี ก็อาจจะใช้เลข 0 , 1 เก็บบนชนิดข้อมูลที่ใช้พื้นที่น้อยที่สุด เช่น ชนิดข้อมูลแบบอักขระ ซึ่งใช้เนื้อที่ 1 ไบต์เช่นกัน

บางภาษาพัฒนาวิธีในการจัดเก็บให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่นบิตเวกเตอร์ หรือ บิตเซต (จากไลบรารีแม่แบบมาตรฐาน) ของชนิดข้อมูลแบบบูลในภาษาซีพลัสพลัสจะใช้เนื้อที่เพียง 1 บิตต่อสมาชิก[1]

บางภาษา เช่น ภาษารูบี้ ค่าจริงและค่าเท็จ เป็นคลาส ที่แยกออกจากกัน ดังนั้นจึงไม่มีชนิดข้อมูลแบบบูล

ใกล้เคียง

ชนิดของคำ ชนิดของตัวนำยวดยิ่งจำแนกตามสมบัติทางแม่เหล็ก ชนิดข้อมูลแบบบูล ชนิดของหินแปร ชนิดของเครื่องเสียง แบบชนิดข้อมูลนามธรรม ชนิดของกล้องโทรทรรศน์ ชนิดาภา พงศ์ศิลป์พิพัฒน์ ชนิดใกล้สูญพันธุ์ ชนิดย่อย