ประวัติ ของ ชมพูสิริน

ชมพูสิริน สำรวจพบโดย ดร.ปราโมทย์ ไตรบุญ นักวิชาการเกษตรชำนาญการจากกรมวิชาการเกษตร (ในขณะสำรวจพบ) และ ดร.ปิยเกษตร สุขสถาน นักพฤกษศาสตร์จากองค์การสวนพฤกษศาสตร์ (ในขณะสำรวจพบ) และได้ขอพระบรมราชานุญาตตั้งชื่อเป็นพรรณไม้ในพระนามของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเทิดพระเกียรติในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมายุ 55 พรรษา 2 เมษายน พ.ศ. 2553[5] อีกทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อเป็นภาษาไทยว่า “ชมพูสิริน” [6][7]ตามสีชมพูของดอกไม้[8] และได้ตีพิมพ์ในวารสาร Garden's Bullitin Singapore 61(1): 174. 2009. การตีพิมพ์ในวารสารเพื่อยืนยัน พืชพันธุ์ใหม่ของโลกเพื่อนำไปใช้ใน การอ้างอิงในด้านอนุกรมวิธานพืช ข้อมูลที่ศึกษาและตัวอย่างอ้างอิงได้นำไปเก็บรวบรวมไว้ในพิพิธภัณฑ์พืช เพื่อการศึกษาด้านอนุกรมวธินต่อไป ข้อมูลที่ศึกษาสามารถเกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานอื่นในประเทศและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยโดยมีส่วนร่วมในการจัดทำข้อมูลพรรณพฤกษชาติแห่งประเทศไทยของพืช วงศ์เทียน (Balsaminaceae) ซึ่งจัดทำโดย ดร.ปิยเกษตร สุขสถาน สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ องค์การสวนพฤกษศาสตร์แม่ริม เชียงใหม่ และการค้นพบยังมีส่วนร่วมในการจัดทำข้อมูลพรรณพฤกษชาติแห่งประเทศไทยของพืชวงศ์ชาฤๅษี (Gesneriaceae) กับ ดร.เดวิด เจ. มิดเดิลตัน (Dr.David J. Middleton) จาก สวนพฤกษศาสตร์หลวงเอเดนเบิร์ก สก็อตแลนด์ สหราชอาณาจักร (Royal Botanic Garden Edinburgh, Edinburgh, Scotland, United Kingdom) ข้อมูลที่ได้ทำการศึกษาสามารถเป็นพื้นฐานให้เกิดการต่อยอดในงานวิจัยอื่น ๆ อีกมากมาย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ชมพูสิริน http://203.131.219.167/km2559/2015/04/24/%E0%B8%AB... http://novataxa.blogspot.com/2011/08/2009-thai-imp... http://www.royalparkrajapruek.org/Knowledge/view/1... http://www.dnp.go.th/botany/plantdbdetails.aspx?pl... http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=... http://lrls.nfe.go.th/LRLS/frontend/theme/km_categ... http://www2.hrdi.or.th/viewContentRoyalflora/18 https://lifestyle.campus-star.com/knowledge/85675.... https://www.thaigreenagro.com/%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E... https://%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9...