ชะลูด

ชะลูด ชื่อวิทยาศาสตร์: Alyxia reinwardtiiBlume var. lucida Markgr หรือ Alyxia nitens Kerr ชื่ออื่นๆ ลูด(ปัตตานี) ชะนูด(สุราษฎร์ธานี) นูด(ภาคใต้), ขี้ตุ่น, ช้างตุ่น ต้นธูป(อีสาน) เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Apocynaceae เนื้อแข็ง ขนาดเล็ก เปลือกค่อนข้างดำ เกลี้ยง มียางสีขาวขุ่น เปลือกเถาชั้นใน กลิ่นหอมมาก[1]เปลือกต้นชั้นในของชะลูดใช้เป็นยาได้ โดยทุบลอกเอาเปลือกสีดำข้างนอกทิ้ง ลอกเอาแต่เนื้อที่หุ้มแก่น แล้วผึ่งลมให้แห้ง เปลือกไม้จะม้วนเป็นแผ่นบางๆ มีสีขาว ตำรายาไทย ใช้ปลือกที่ทุบแล้วนี้เป็นยาขับผายลม แก้ปวดในท้อง บำรุงกำลัง แก้ปวดมวนท้อง บำรุงหัวใจ บำรุงครรภ์รักษา แก้ดีพิการ แก้ไข้ แก้ปวดบวม เถาปรุงยาแก้พิษในเลือดและน้ำเหลือง บำรุงกำลัง แก้ลมวิงเวียน แก้อ่อนเพลีย ใช้เปลือกชะลูดเป็นส่วนผสมของตำรับ”ยาหอมเทพจิตร” และตำรับ ”ยาหอมนวโกฐ" ที่มีสรรพคุณแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง ชะลูดมีสารหอมกลุ่มคูมารินส์ ใช้อบผ้า ใช้ผสมทำธูป[1] ต้มรวมกับลูกซัด ย้อมเสื้อผ้าให้มีกลิ่นหอม[2]