ความสำคัญของชั้นโอโซน ของ ชั้นโอโซน

บรรยากาศ คือ ชั้นของอากาศที่หุ้มห่อโลกอยู่ อากาศประกอบด้วยก๊าซหลายชนิดที่มองไม่เห็นรวมกันอยู่ ก๊าซไนโตรเจน 78% ออกซิเจน 21% อีก 1% ประกอบด้วยก๊าซอาร์กอน คาร์บอนไดออกไซด์ และอื่นๆ อีกเล็กน้อย บรรยากาศมีความสำคัญต่อชีวิตหากปราศจากออกซิเจนแล้ว สิ่งมีชีวิตจะไม่สามารถหายใจได้ ถ้าไม่มีคาร์บอนไดออกไซด์ ต้นไม้ก็ไม่สามารถเจริญเติบโต บรรยากาศให้สิ่งที่จำเป็นต่อชีวิตและปกป้องเราได้ เป็นทั้งเกราะและผ้าห่มช่วยไม่ให้โลกร้อนจัดในตอนกลางวันและไม่ให้สูญเสียความอบอุ่นในตอนกลางคืน บรรยากาศสูงขึ้นไปเหนือแผ่นดิน 310 ไมล์ 500 กิโลเมตร ประกอบด้วย ชั้นบรรยากาศ 5 ชั้น ชั้นล่างสุด คือ โทรโพสเฟียร์ เหนือขึ้นไป คือ ชั้นสตราโทสเฟียร์ ตอนบนของชั้นนี้มีโอโซนหนาแน่น อุณหภูมิสูงเพราะโอโซนดูดเอาคลื่นรังสีอัลตราไวโอเลตไว้มาก และหุ้มชั้นบรรยากาศนี้ไว้เหมือนผิวหนังบางๆ รอบๆ ชั้นต่อไป คือ มีโซสเฟียร์ mesosphere ชั้นต่อไป คือ เทอร์โมสเฟียร์ ชั้นต่อไป คือ ชั้นเอกโซสเฟียร์ exosphere[3]

ดวงอาทิตย์ไม่เพียงส่งรังสีความร้อน ที่มองไม่เห็นมายังโลก ให้ความอบอุ่นแก่มนษย์ แต่ยังส่งรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งมีอันตรายมาด้วย รังสีชนิดนี้ทำให้ผิวหนังสีคล้ำและไหม้ ก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ แต่เคราะห์ดีที่โลกหุ้มด้วยก๊าซโอโซนในบรรยากาศชั้นสเตรโตรเฟียร์ กันรังสียูวี นี้ไว้ได้มากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ ก๊าซโอโซน O3 เป็นก๊าซออกซิเจนที่มี 3 อะตอม แทนที่จะเป็นออกซิเจนที่มี 2 อะตอม เหมือนออกซิเจนปกติ ซึ่งชั้นโอโซนเป็นเสหมือนเกราะกรองแสงที่คอยปกป้องโลกไม่ให้ร้อนจนเกินไปกันรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังและแสบในวันที่ 16 กันยายน ของทุกปีนับตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา ได้ถูกกำหนดให้เป็น วันโอโซนโลก (World Ozone Day) เพื่อให้ตระหนักถึงประโยชน์ของชั้นโอโซนและชั้นบรรยากาศต่างๆ ของโลก และช่วยอนุรักษ์ของชั้นโอโซน[4]