ลักษณะ ของ ชั้นไบวาลเวีย

มีลักษณะทั่วไป คือ มีฝาสองข้างประกบเข้าด้วยกัน สามารถเปิดปิดได้ โดยมีโครงสร้างของจุดเชื่อมต่อคล้ายฟันสลักบานพับประตูที่ขั้วฝาทั้งสองที่ขบเกี่ยวกัน บางชนิดยึดติดเปลือกข้างหนึ่งไว้กับพื้นผิวที่แข็ง ใช้เหงือกกรองอาหารกินจากกระแสน้ำที่พัดผ่าน บางชนิดฝังตัวอยู่ใต้ทรายตลอดทั้งชีวิต โดยใช้เนื้อเท้าที่มีรูปร่างคล้ายใบขวานขุดแซะ เพื่อแทรกตัวลงไปใต้พื้นทราย โดยมีท่อน้ำดูดน้ำเข้าออกกรองอาหารกิน บางชนิดฝังตัวใต้ซากไม้ที่ผุพัง และบางชนิดก็ซุ่มซ่อนตัวเพื่อล่าเหยื่อ ขณะที่บางกลุ่มสามารถเปิดฝาปิดนี้อ้าและหุบเป็นจังหวะ เพื่อพ่นขับแรงดันน้ำจนเสมือนกับว่าได้ว่ายน้ำได้

ซึ่งมอลลัสคาที่อยู่ในชั้นนี้ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ หอยนางรม, หอยแมลงภู่, หอยลาย, หอยมือเสือ, หอยคราง, หอยหลอด, หอยตลับ เป็นต้น ซึ่งแบ่งออกเป็นชั้นย่อยได้อีก 6 ชั้น (ดูในตาราง)

ปัจจุบันพบแล้วกว่า 30,000 ชนิด[2]

ใกล้เคียง

ชั้นไบวาลเวีย ชั้นไซโฟซัว ชั้นเซฟาโลพอด ชั้นโอโซน ชั้นฐานสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค ชั้นใต้เยื่อเมือก ชั้นปลากระดูกแข็ง ชั้นแกสโทรโพดา ชั้นใต้ดินของทำเนียบขาว