เส้นทางดนตรี ของ ชาตรี_คงสุวรรณ

สมาชิกดิ อินโนเซ็นท์

ปี พ.ศ 2525 ได้รับการชักชวนจากวงดิ อินโนเซ้นท์ โดยทางวงมีแนวทางที่จะเปลี่ยนสไตล์วง จากโฟล์คซอง มาเป็นวงดนตรีสตริง โอม ชาตรี ตกลงรับการชักชวน มาร่วมงานกันในฐานะ มือกีตาร์ และทำหน้าที่แต่งเพลงให้กับวง หลังจากตัดสินใจร่วมงาน เขาจึงต้องย้ายมายังกรุงเทพหลังจากนั้นเป็นต้นมาเขามีหน้าที่แต่งเพลงให้กับวงดิ อินโนเซ็นท์ เป็นต้นมา

ร่วมงานกับวงพลอย

ในขณะที่เข้ามาใช้ชีวิตในเมืองกรุง นอกเหนือจากการทำงานเพลง และออกทัวร์คอนเสิร์ตร่วมกับวง ดิ อินโนเซ็นท์แล้ว บางโอกาส วงก็ต้องมีงานเล่นประจำตามคลับ บาร์ กลางคืน และแม้กระทั่งช่วงพักการออกอัลบั้ม เขาได้รับการชักชวนให้เป็นนักดนตรีสนับสนุนให้แก่ ดนุพล แก้วกาญจน์ จนเมื่อ แจ้ ฟอร์มวงดนตรีขึ้นมาเพื่อร่วมทัวร์ทั่วประเทศ กับเขาอย่างจริงจังใช้ชื่อว่า วงพลอย ก็มีชื่อชาตรี คงสุวรรณ อยู่ด้วย เขาทำงานเป็นทั้งนักดนตรี กีตาร์สนับสนุนและนักแต่งเพลงให้งานเพลงของพี่แจ้อยู๋ประมาณ 2 ปี จนประมาณปี 2531 ด้วยงานที่ล้นมือ ทำให้เขาถึงจุดที่ต้องเลือกที่จะเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการทำงานมากกว่าการขึ้นไปยืนอยู่บนเวที ในฐานะศิลปินกลุ่มอีกต่อไป

โปรดิวเซอร์

โอม ชาตรี ได้รับการชักชวนจากเต๋อ เรวัติ ทำให้เกิดคอนเสริ์ตครั้งสำคัญของเต๋อ เรวัติ (คลิ้กเพื่อดูเนื้อหาคอนเสริ์ต) บันทึกการแสดงสดปึ้กกกก...เต๋อ

หลังจากได้ร่วมงานกับเต๋อ เรวัติ เขาได้ตัดสินใจเข้ามาร่วมงานกันในทีมงานเต๋อ เรวัติ โดยมีบุคลากรนักแต่งเพลงที่มีฝีมือมากมายอาทิ เรวัต พุทธินันทน์, อัสนี โชติกุล, จาตุรนต์ เอมซ์บุตร, ไพทูรย์ วาทยะกร, กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา, เขตต์อรัญ เลิศพิพัฒน์, นิติพงษ์ ห่อนาค ฯลฯ ภายใต้สังกัด แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ โดยเริ่มทำงานในฐานะนักกีตาร์ โดยโอมยังได้มีโอกาสแต่งเพลงให้กับศิลปินจำนวนมาก

ปี 2533 งานชิ้นแรกในฐานะโปรดิวเซอร์ของโอม ชาตรีออกเผยแผร่เป็นอัลบั้มของ คริสติน่า อากีลาร์ ชื่ออัลบั้ม “นินจา” โดยมีความประสบความสำเร็จอย่างมาก จนทำให้โอมได้โอกาสทำงานในฐานะโปรดิวเซอร์ให้กับศิลปินมากมายเช่น Ynot7 , อินคา , อำพล ลำพูน , ปีเตอร์ คอร์ป ไดเรนดัล ,หรือแม้แต่การรวมตัวกันเฉพาะกิจของ แอม-ดา (เสาวลักษณ์ ลีละบุตร-ศักดา พัทธสีมา)

บริหารค่ายเพลง

ภายหลังจากเต๋อ เรวัติ เสียชีวิตลง เมื่อพ.ศ. 2539 ทำให้เกิดสภาวะขาดแคลนผู้นำ ทำให้ โอม ชาตรี คิดที่จะขยับขยายการทำงาน มาเป็นผู้บริหารค่ายเพลงอย่างเต็มตัว ประกอบกับการปรับปรุงโครงสร้างภายในของแกรมมี่ ที่แตกเป็นบริษัทย่อยต่างๆมากมาย เพื่อเติบโตตามความสามารถและความถนัดของบุคลากรหลักที่เคยมีอยู่

หลังจาก งานคอนเสิร์ต จากเพื่อน พี่ และ น้อง แด่ เรวัติ พุทธินันทน์ ( Tribute to Rewat Buddhinan Concert) ที่เขารับหน้าที่ Music Director อันเป็นหน้าที่ที่เขาภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่มีโอกาสทำงานให้พี่ชายที่เขารักและเคารพจบลง จึงได้เกิดค่ายย่อยภายใต้ชื่อ RPG Records ขึ้นในปี 2541 โดยมี โอม ชาตรี เป็นผู้บริหาร RPG ย่อมาจาก Rewat”s Producer Group ซึ่งในความหมายก็คือการรวมตัวกันทำงานของ ทีมProducerที่เคยร่วมทำงานกับพี่เต๋อมาก่อน เป็นการตั้งชื่อเพื่อระลึกถึงและเป็นกำลังใจในทำงาน ซึ่งในยุคเริ่ม RPG มีบุคลากรที่ทำงานเพลงหลัก ได้แก่ สมชัย ขำเลิศกุล, ชุมพล สุปัญโญ,อภิไชย เย็นพูนสุข,โสฬส ปุณกะบุตร, พงษ์พรหม สนิทวงศ์ฯ, รุ่งโรจน์ ผลหว้า,ธานัท ธัญญหาญ วรวิทย์ พิกุลทอง เป็นต้น

แม้ว่าจะทำงานในฐานะผู้บริหารค่ายเพลง แต่ก็ไม่อาจหลุดพ้นจากการผลิตงานดนตรีได้ เพียงแต่ขยับไปทำหน้าที่ Executive Producer ซึ่งมีหน้าที่กำหนดแนวทางของดนตรีและ เพลงแต่ละเพลงที่ผลิตออกมา โดยให้ Producer เป็นผู้รับไปดำเนินการต่อจนสำเร็จ ศิลปินที่อยู่ในสังกัด RPG เริ่มด้วยการเปิดตัวศิลปิน Rock Dance มิสเตอร์ทีมที่มีเพลงดังเป็นที่นิยมมากมายในอัลบั้ม และตามมาด้วยศิลปินต่างๆอีกหลายคน อาทิ Double U, Peter Corp Dyrendal ,คริสติน่า อากีล่าร์, ธีรภัทร์ สัจจกุล, วายน็อตเซเว่น, ศักดา พัทธสีมา,ปาล์มมี่ และ วงเพียว ซึ่งศิลปินแต่ละคน มีทั้งประสบความสำเร็จอย่างมาก และน้อย คละกันไป ท่ามกลางตลาดเพลงที่เริ่มเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงไปตามเทคโนโลยี่ ตลาดไฟล์เพลง MP3 ที่เติบโต มากกว่างาน CD ต้นแบบ รวมถึงการมาของ CD Writer และ เครื่องเล่น MP3 ที่ทำไห้ไม่ต้องพึ่งพาคอมพิวเตอร์ก็สามารถฟังไฟล์เพลงได้ ทำให้งานเพลงในรูปแบบของ MP3 ยิ่งเติบโตแบบยั้งไม่อยู่ ในขณะที่อัลบั้มที่เป็นงานเพลงที่วางขายอยู่กลับได้รับความสนใจจากผู้บริโภคไม่มาก และตั้งแต่ ปี 2542 เป็นต้นมา การที่จะทำให้งานเพลงของศิลปินใดผลิตออกมาด้วยความสำเร็จ เป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็ญกว่าเก่าหลายเท่านัก

การเปลี่ยนแปลง

การทำงานแน้นคุณภาพงานทางด้านดนตรีของเขา ยังคงเป็นบุคลิกติดตัวตลอดมาไม่ว่าเขาจะทำงานที่ใด จึงเป็นที่รู้กันดีว่า งานใดที่ออกมาจากค่ายเพลงของเขา จะเป็นงานที่เน้นเนื้อหาความเข้มข้นของดนตรีมากกว่าสิ่งอื่นใด และมีแนวทางของตนเองที่ชัดเจนมาตลอด แม้ว่าบางครั้ง การทำงานจะขัดกับแนวทางการตลาดบ้างก็ตามแต่การทำงานท่ามกลางความแตกต่างทางความคิด และความเปลี่ยนแปลงของวงการรอบด้านที่มาอย่างรวดเร็ว เป็นสาเหตุให้เกิดความอิ่มตัวมาถึงเร็วกว่าที่คิด การสร้างสรรค์งานเริ่มมีอุปสรรค เขาจึงหาทางขยับขยายเพื่อ ปลดปล่อยตัวเองอีกครั้ง เพื่อมาทำงานในค่ายเพลงใหม่ ภายใต้ชี่อ คราฟท์แมน เรคคอร์ดส์ (Craftsman Records) ซึ่งเป็นค่ายเพลงอิสระที่ตั้งขึ้นมากับเพื่อนๆ Producer ที่เคยทำงานด้วยกัน แต่อยู่นอกชายคาต้นสังกัดเดิม ตั้งแต่ปีกลางปี 2547 ,ศิลปินในสังกัดส่วนใหญ่จะผลิตงานเอง ทั้งที่เคยร่วมงานกันมาก่อน และ เข้ามาใหม่ อาทิ เช่น GR9, 2Peace, Big & The Superband, 4Gotten, Jugg Big และ Jida งานของศิลปินเหล่านี้ ได้รับการตอบรับว่า เป็นงานที่มีคุณภาพ แต่ด้วยความเป็นค่าย Indy การขาดแคลนแหลายๆสิ่งที่เคยมีอยู่ในองค์กรใหญ่ๆ ทำให้งานเพลงไม่ได้รับการเผยแพร่เท่าที่ควร แม้ว่าในภายหลังศิลปินในสังกัดเกือบทุกราย จะได้รับรางวัลในการทำงาน เป็นกำลังใจในผลงานด้านต่างๆจากสถาบันต่างๆหลายรางวัลก็ตาม แต่ก็ไม่มีผลกระทบต่อการตลาดในทางที่ดีนัก โดยเฉพาะในครั้งนี้เขาทำงานบริหารอยู่ท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงของตลาดเพลงของโลกที่รุนแรงยิ่ง ไม่ว่าจะเป็น

  • การยอมรับไฟล์เพลงที่ครั้งหนึ่งเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายอย่าง MP3มาเป็นเรื่องถูกกฎหมายของผู้ฟัง
  • การเกิดใหม่ของแหล่งเผยแพร่ของสื่อเพลงชนิดใหม่เช่น สื่อ Digital หรือแม้กระทั่ง
  • การเปลี่ยนแปลง จากการทำดนตรีเป็นอัลบั้มออกจำหน่ายมาเป็นตัดเพียงเพลงบางเพลงออกจำหน่ายในรูปแบบDigitalผ่านไปสู่ผู้ฟังจากสื่อโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต

เหล่านี้ คือการเปลี่ยนแปลงของตลาดเพลงทั่วโลกที่เกิดขึ้นรวดเร็วและรุนแรง ทำให้เผู้ที่อยู่ในวงการดนตรีทั้งหมด ต้องหาทางปรับตัว ปรับปรุงวิธีการทำงาน จนกระทั่งเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ เพื่อหาโอกาสหยิบยื่นงานของตนเองต่อผู้ฟัง แต่สำหรับโอม ชาตรี เขาเลือกที่จะเปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่ แต่รักษาคุณภาพงานเดิมไว้ ออกมายืนหน้าเวที หยุดทำงานเบื้องหลัง และ ออกมาเป็นศิลปินเดี่ยว ในฐานะนักดนตรี นักร้อง ทำงานของตนเอง ในนามของตนเองเป็นครั้งแรก ในเวลาเกือบ 30 ปี ของชีวิตคนดนตรี