ระเบียบข้อบังคับด้านสุขภาพ ของ ชานจาแผ่น

สีผสมอาหาร

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (US FDA) ได้ตรวจยึดชานจาแผ่นหลายครั้ง เนื่องจากตรวจพบ Ponceau 4R (E124, Acid Red 18) ซึ่งเป็นสีผสมอาหารที่ไม่ผ่านการอนุมัติ[5][6] Ponceau 4R ยังอนุญาตใช้ในยุโรป เอเชีย และออสเตรเลีย แต่ไม่ผ่านการรับรองจาก US FDA ในปี พ.ศ. 2549 คณะกรรมการอาหารและยาแห่งประเทศจีนได้ประกาศอาหารที่ไม่ได้มาตรฐานซึ่งรวมชานจาแผ่นจาก 3 บริษัทมีการผสมสารเพิ่มสีแดงที่เป็นสารก่อมะเร็งผสมอยู่[3][7] เมื่อปี พ.ศ. 2557 ในประเทศไทยคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ระบุว่ามีการขึ้นทะเบียนการนำเข้าชานจาแผ่น จาก 8–9 บริษัทแต่ยังไม่พบว่าเป็น 3 บริษัทดังกล่าว[8]

ปัจจุบัน ชานจาแผ่นบางยี่ห้อมีสีผสมอาหาร Allura Red AC (FD& C #40) (สีแดง) ซึ่งในยุโรปเป็นสีผสมอาหารที่ไม่แนะนำให้เด็กบริโภค และมีระเบียบข้อบังคับการห้ามใช้สีผสมอาหารในเดนมาร์ก เบลเยียม ฝรั่งเศส และสวิตเซอร์แลนด์

น้ำตาล

โดยทั่วไปผลชานจาสด อาจช่วยในการควบคุมและรักษาสมดุลภาวะเมแทบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) ให้ดีขึ้น[9]และการไหลเวียนของเลือด[10] อย่างไรก็ตามชานจาแผ่นแบบทั่วไปทำขึ้นการเติมน้ำตาลจำนวนมาก ทำให้ไม่มีผลที่ดีในทางสุขภาพ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ชานจาแผ่น http://gbcode.rthk.org.hk/TuniS/www.rthk.org.hk/rt... https://web.archive.org/web/20070613081904/https:/... https://www.fda.gov/bbs/topics/ENFORCE/2001/ENF007... https://web.archive.org/web/20070611233525/https:/... https://www.fda.gov/bbs/topics/ENFORCE/ENF00655.ht... https://www.blockdit.com/posts/5d7613e7aa99320cdd0... https://sys01.lib.hkbu.edu.hk/cmed/mmid/detail.php... https://mgronline.com/travel/detail/9570000008627 https://kukr2.lib.ku.ac.th/kukr_es/index.php?/BKN/... https://www.thairath.co.th/lifestyle/food/473492